Loading…

คณาจารย์เภสัชมหิดลร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 4th MU-CMU Joint Symposium

123 ครั้ง   19 มกราคม 2567

เมื่อวันศุกร์ที่ 19 มกราคม 2567 คณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นันทนา นุชถาวร อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชเคมี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง อาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม เข้าร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ ในการประชุมวิชาการนานาชาติ The 4th MU-CMU Joint Symposium ซึ่งจัดโดย มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ China Medical University ระหว่างวันที่ 18-20 มกราคม 2567 โดยมีผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ศาสตราจารย์ นายแพทย์บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พร้อมด้วยคณาจารย์จากส่วนงานต่างๆ เข้าร่วมการประชุมวิชาการครั้งนี้ด้วย ซึ่งจัดขึ้น ณ China Medical University (Shuinan Campus) สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.นันทนา นุชถาวร ได้ให้เกียรติร่วมบรรยายในหัวข้อ \"Analytical Tools for Detecting Substandard and Counterfeit Pharmaceutical and Health Products\" และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง ได้ให้เกียรติร่วมบรรยายในหัวข้อ \"Heath Technology Assessment for the Development of Vaccine Policy and Universal Health Coverage Benefit Package in Thailand\" ในการประชุมดังกล่าวด้วย

การประชุมวิชาการนานาชาติ The 4th MU-CMU Joint Symposium จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการวิจัยในงานวิจัยสาขาแพทยศาสตร์ สาธารณสุขศาสตร์ และเภสัชศาสตร์ ระหว่างบุคลากรของมหาวิทยาลัยมหิดล และ China Medical University

นอกจากนี้ การประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าว ยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล