Loading…

เภสัชมหิดลเยือน Meiji Pharmaceutical University เพื่อนิเทศการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของนักศึกษา ณ ประเทศญี่ปุ่น และเจรจาความร่วมมือทางวิชาการ

96 ครั้ง   28 พฤศจิกายน 2566

เมื่อวันอังคารที่ 28 พฤศจิกายน 2566 เวลา 13.00 น. (ตามเวลาประเทศญี่ปุ่น) ผู้แทนคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ศยามล สุขขา และ ดร.อัมพร สงคศิริ เดินทางไปเยือน Meiji Pharmaceutical University (MPU) กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อเข้านิเทศการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 6 ซึ่งเข้าฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ณ Kawakita General Hospital และ Qol Pharmacy กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้ความร่วมมือและการควบคุมดูแลของ Dr. Kazuhiro HIGUCHI ซึ่งเป็นอาจารย์ของ Meiji Pharmaceutical University

ในโอกาสนี้ Prof. Dr. Hirotoshi Echizen (อธิการบดีของ MPU) พร้อมด้วยคณาจารย์ของ MPU ประกอบด้วย Prof. Dr. Manabu AKAZAWA , Prof. Dr. Akifumi Kushiyama, Prof. Dr. Hideki Maeda, Dr. Ryoko SAKAI และ Dr. Kazuhiro HIGUCHI ให้เกียรติร่วมให้การต้อนรับ พร้อมทั้งร่วมเจรจาความร่วมมือและกิจกรรมการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างคณะฯ และ MPU ในอนาคตอีกด้วย

นอกจากนี้ ในวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 Dr. Kazuhiro HIGUCHI ได้นำ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ศยามล สุขขา และ ดร.อัมพร สงคศิริ เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน ณ Kampo Medicine Learning และ Qol Pharmacy ซึ่งเป็นแหล่งฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพของนักศึกษาอีกด้วย

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/activities/3706

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล