Loading…

เภสัชมหิดลต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจาก SMBT College of Pharmacy ประเทศอินเดีย

206 ครั้ง   20 ตุลาคม 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ตุลาคม 2566 เวลา 13:30 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิราพร เลื่อนผลเจริญชัย หัวหน้าสาขาวิชาเภสัชกรรมเทคโนโลยี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อมราพร วงศ์รักษ์พานิช และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล ผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนัง   ร่วมให้การต้อนรับคณาจารย์และนักศึกษาจาก SMBT College of Pharmacy ประเทศอินเดีย ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนคณะฯ เพื่อเข้าศึกษาดูงานและหารือความร่วมมือระหว่างสองสถาบัน ณ ห้องประชุม 409 อาคารราชรัตน์

คณาจารย์และนักศึกษา รวม 8 คน ประกอบด้วย 1) Asst. Prof. Kundan J. Tiwari 2) Asst. Prof. Dr. Harsha V.Zope 3) Asst. Prof. Bhavana D. Tambe 4) Dr. Vijay R. Mahajan 5) Ms. Snehal Pralhad Zankar 6) Ms. Mansi Rajesh Khabiya 7) Ms. Sanika S. Pawar และ 8) Ms. Surabhi Vasant Gandole

ในโอกาสนี้ นักศึกษาของ SMBT College of Pharmacy ได้ร่วมนำเสนอโครงการวิจัย จำนวน 4 เรื่อง พร้อมรับฟังข้อเสนอแนะจากคณาจารย์ของคณะฯ โดยมีรายชื่อโครงการวิจัย ดังนี้

1) หัวข้อ “Herbal Gugul Ointment Acts as Penetration Enhancer” นำเสนอโดย Ms. Mansi Rajesh Khabiya
2) หัวข้อ “Formulation and Evaluation of an Antioxidant Face Pack Utilizing Gallic Acid as the Active Phytoconstituent: A Comprehensive Research Study” นำเสนอโดย Ms. Sanika S. Pawar
3) หัวข้อ “Formulation and Evaluation of Herbal Sunscreen Cream” นำเสนอโดย Ms. Snehal Pralhad Zankar
4) หัวข้อ “Formulation and Evaluation of Herbal Anti-Acne Face Wash” นำเสนอโดย Ms. Surabhi Vasant Gandole

ภายหลังการนำเสนอดังกล่าว คณาจารย์และนักศึกษาของ SMBT College of Pharmacy ยังได้มีโอกาสเข้าเยี่ยมชม ศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนังและศูนย์วิจัยความจำเพาะเชิงโมเลกุลและพัฒนายาแบบบูรณาการของคณะฯ อีกด้วย

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล