Loading…

เภสัชมหิดลจัดนำเสนอผลการฝึกอบรมของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Graduate School of Pharmaceutical Sciences, Chiba University ประเทศญี่ปุ่น

160 ครั้ง   9 ตุลาคม 2566

เมื่อวันจันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2566 เวลา 10.00 - 11.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดการนำเสนอผลการฝึกอบรมวิชาชีพเฉพาะทาง (Exit Presentation) ซึ่งนำเสนอโดย Mr. Shun Kaneko นักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Graduate School of Pharmaceutical Sciences, Chiba University ประเทศญี่ปุ่น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วารี ลิมป์วิกรานต์ หัวหน้าภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลการฝึกอบรมของนักศึกษาแลกเปลี่ยนดังกล่าว ณ ห้องบรรยาย 406 อาคารราชรัตน์

ทั้งนี้ Mr. Shun Kaneko ได้เดินทางมาแลกเปลี่ยนที่คณะฯ และรับการฝึกอบรมทางวิชาชีพเฉพาะทาง สาขา Pharmaceutical Manufacturing ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2566 ถึงวันที่ 10 ตุลาคม 2566 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วารี ลิมป์วิกรานต์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการฝึกอบรมทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้องให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างชาติ อันจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางวิชาการและวัฒนธรรมข้ามชาติ พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาในด้านวิชาการ วิชาชีพ ภาษาอังกฤษ และทักษะทางสังคม อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาความสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษาของคณะฯ และนักศึกษาแลกเปลี่ยน อันจะช่วยเสริมสร้างภาพลักษณ์และความเป็นเลิศทางวิชาการของคณะฯ สนับสนุนให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือในระดับนานาชาติ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของคณะฯ ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล 

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล