Loading…

หลักสูตร MU-HTA เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ 11th HTAsiaLink Conference

153 ครั้ง   5 กันยายน 2566

ระหว่างวันที่ 5-7 กันยายน 2566 คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment: MU-HTA) ของมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ และ ประธานหลักสูตร MU-HTA และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ พร้อมทั้งคณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในสาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์และการบริหาร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาทร ริ้วไพบูลย์ และ อาจารย์ ดร.ภญ.เสาวลักษณ์ ตุรงคราวี เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 11th HTAsiaLink Conference 2023 ซึ่งจัดขึ้นโดย Malaysian Health Technology Assessment Section (MaHTAS) ร่วมกับ เครือข่ายการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในทวีปเอเชีย (HTAsiaLink Network) ภายใต้หัวข้อหลัก (Theme) “Reshaping and Reshifting Health Technology Assessment in Navigating the Future Landscape” ระหว่างวันที่ 4-7 กันยายน 2566 ณ Mercure Living Putrajaya Hotel เมืองปูตราจายา (Putrajaya) ประเทศมาเลเซีย

สำหรับกิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การบรรยายทางวิชาการในหัวข้อต่างๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้องจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักวิจัยจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยแบ่งเป็นช่วง Pre-conference Session จำนวน 6 หัวข้อ ในวันที่ 4 กันยายน 2566 และการประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานในวันที่ 5-7 กันยายน 2566 โดยมีการบรรยายพิเศษ (Plenary Session) จำนวน 3 หัวข้อหลัก ได้แก่ 1) Plenary 1: Accelerating access of health technologies, 2) Plenary II: Role of HTA in Assessing Public Health Intervention และ 3) Plenary III: Innovative Approaches in Tackling HTA Challenges นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งแบบปากเปล่า (Oral Presentation) จำนวน 64 ผลงาน และแบบโปสเตอร์ (Poster Session) จำนวน 37 ผลงาน รวมไปถึงกิจกรรมสร้างเครือข่ายทางวิชาการ (Networking Event) ระหว่างผู้เข้าร่วมการประชุมจากหลากหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย

การประชุมวิชาการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการของเครือข่ายการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพในทวีปเอเชีย (HTAsiaLink) พัฒนาขีดความสามารถด้านวิชาการให้แก่นักวิชาการและนักวิจัยในสาขาที่เกี่ยวข้อง สนับสนุนให้เกิดเวทีแห่งการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ใหม่ในระดับสากลผ่านการบรรยายทางวิชาการและการนำเสนอผลงานวิจัยของผู้เข้าร่วมประชุมจากประเทศที่เป็นสมาชิกและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก อันจะนำไปสู่การพัฒนาและธำรงสัมพันธภาพที่ดีระหว่างสมาชิกในเครือข่ายอย่างยั่งยืน

ทั้งนี้ การประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าว ยังตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา