Loading…

เภสัชมหิดลจัดโครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมสาขาชีวเคมีทางเภสัชศาสตร์

180 ครั้ง   26 มิถุนายน 2566

เมื่อวันจันทร์ที่ 26 มิถุนายน 2566 เวลา 11.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชาชีวเคมี ร่วมกับ งานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดปฐมนิเทศโครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมสาขาชีวเคมีทางเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Biochemistry) สำหรับนักศึกษาต่างชาติจาก Department of Biochemistry, Faculty of Pharmacy, University of Santo Tomas (UST) ประเทศฟิลิปปินส์ ณ ห้องประชุม 710 อาคารราชรัตน์

ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิระพรรณ จิตติคุณ หัวหน้าภาควิชาชีวเคมี พร้อมด้วยคณาจารย์และบุคลากรภาควิชาชีวเคมี เข้าร่วมให้การต้อนรับ Asst. Prof. Dr. Ruel Valerio R. De Grano ซึ่งเดินทางมาส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยน จำนวน 4 คนจาก Department of Biochemistry, UST ที่เข้าร่วมโครงการฝึกอบรมฯ ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นเป็นรุ่นที่ 9 โดยภาควิชาชีวเคมี สำหรับนักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง 4 คน ประกอบด้วย 1) Ms. Patricia Jeanne Ramos 2) Ms. Eliel Frances Toledo 
3) Ms. Anj Guillan Baile และ 4) Mr. Vincent Villanueva 

นอกจากนี้ คณาจารย์ภาควิชาชีวเคมียังได้มีโอกาสร่วมหารือความร่วมมือด้านการศึกษาและวิจัยระหว่างสองสถาบัน ร่วมกับ Asst. Prof. Dr. Ruel Valerio R. De Grano อีกด้วย ทั้งนี้ โครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมสาขาชีวเคมีทางเภสัชศาสตร์ จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดการฝึกอบรมทางวิชาชีพในสาขาชีวเคมีทางเภสัชศาสตร์ให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยน สาขาชีวเคมี อันจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของคณะฯ ในระดับนานาชาติ และสนับสนุนให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือในระดับสากล นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา