Loading…

เภสัชมหิดลต้อนรับคณะนักวิจัยจาก Meiji Pharmaceutical University ประเทศญี่ปุ่น

272 ครั้ง   30 พฤษภาคม 2566

เมื่อวันอังคารที่ 30 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.30-11.30 น. หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MUHTA) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ และ ประธานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MUHTA) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ ให้การต้อนรับคณะนักวิจัยจากประเทศญี่ปุ่น นำโดย  Dr. Hideki MAEDA อาจารย์สังกัด Department of Regulatory Science, Meiji Pharmaceutical University ประเทศญี่ปุ่น พร้อมทีมนักวิจัยชาวญี่ปุ่น ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์คลินิกนายแพทย์อุดม คชินทร ชั้น 4 อาคารวิจัยฯ  ในโอกาสมาเยือนคณะฯ เพื่อเข้าสัมภาษณ์คณาจารย์ประจำหลักสูตร MUHTA สำหรับการเก็บข้อมูลวิจัย เรื่อง \"The Research on Health Insurance Systems in New Economic Growth Countries\" คณะนักวิจัยดังกล่าว ประกอบด้วย
1) Dr. Hideki MAEDA (Professor, Department of Regulatory Science, Meiji Pharmaceutical University (MPU))
2) Mr. Masahide KAWANO (Senior Manager, Infrastructure Department, Institute for Healthcare Economics and Research (IHEP))
3) Mr. Kazunari YOKOTA (First Secretary, Embassy of Japan in Bangkok)
4) Ms. Riko SHINGAI (Research Assistant, Department of Regulatory Science, Meiji Pharmaceutical University (MPU))

โครงการวิจัยดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสถานการณ์การใช้ยาและแนวโน้มด้านระบบสุขภาพของประเทศที่พัฒนาแล้ว โดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งดำเนินโครงการวิจัยโดย Institute for Healthcare Economics and Research (IHEP) ประเทศญี่ปุ่น

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา