Loading…

งานวิเทศสัมพันธ์จัดกิจกรรมนำเสนอโครงการวิจัยของนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น

285 ครั้ง   24 มีนาคม 2566

เมื่อวันศุกร์ที่ 24 มีนาคม 2566 เวลา 13.00-15.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย) คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดให้มีกิจกรรมนำเสนอโครงการวิจัย (Research Project Presentation) ร่วมกับ School of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องประชุม 501 ชั้น 5 อาคารวิจัยประดิษฐ์ หุตางกูร และถ่ายทอดสดผ่านระบบ Zoom Meetings โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.เบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานของนักศึกษาแลกเปลี่ยน จำนวน 3 คน จาก School of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ซึ่งได้เดินทางมาแลกเปลี่ยนและฝึกอบรม ณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2566

ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมนึก บุญสุภา ได้เข้าร่วมรับฟังการนำเสนอผลงานของนักศึกษาแลกเปลี่ยนผ่านระบบ Zoom Meetings พร้อมกับคณาจารย์ของ School of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University นำโดย Prof. Dr. Kenji Hamase และ Assoc. Prof. Dr. Seiichi Sakamoto รวมทั้งคณาจารย์ของ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิตติมา ลัคนากุล รองคณบดีฝ่ายพันธกิจสากลและวิรัชกิจ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.วราลี ยอดสุรางค์ พร้อมกับนักศึกษาแลกเปลี่ยนของ Kyushu University จำนวน 3 คน ซึ่งได้เข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยน ณ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในช่วงเวลาเดียวกัน โดยในปีนี้ทาง School of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ได้ส่งนักศึกษาแลกเปลี่ยนระดับปริญญาตรี รวมจำนวน 6 คน มาแลกเปลี่ยนและเข้ารับการฝึกอบรมเฉพาะทางด้านการวิจัยทางเภสัชศาสตร์ ณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล และ คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แห่งละ 3 คน 

สำหรับโครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมทางวิชาชีพและการวิจัยเฉพาะทาง ณ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ถึงวันที่ 27 มีนาคม 2566 โดยมีรายละเอียดและหัวข้อวิจัยที่นำเสนอ ดังนี้ 

1) Ms. Iku HIROYASU เข้ารับการฝึกอบรมในสาขา Pharmacology และนำเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “Induction of apoptosis in MCF-7 cells by compound A” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี ภาควิชาเภสัชวิทยา เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

2) Ms. Tsumugi MITSUO เข้ารับการฝึกอบรมในสาขา Pharmacognosy และนำเสนอโครงการวิจัย เรื่อง “Exploring the Potential of Methoxyflavone Production through Elicitation in Kaempferia parviflora and Profiling of Volatile Oil Constituents in Select Thai Medicinal Plants” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมนึก บุญสุภา ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

3) Ms. Yume SADATO เข้ารับการฝึกอบรมในสาขา Pharmaceutical Botany และนำเสนอผลงานวิจัย เรื่อง “Analysis of plant bioactive compounds and study of edible pigments from plants” โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.เบญญากาญจน์ พงศ์กิจวิทูร ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ เป็นอาจารย์ที่ปรึกษา

ภายหลังการนำเสนอผลงานวิจัย จึงเป็นกิจกรรมนำเสนอผลการฝึกอบรมและการเรียนรู้ (Exit Presentation) ของนักศึกษาแลกเปลี่ยน และการมอบประกาศนียบัตรให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยนทั้ง 3 คน เป็นอันสิ้นสุดโครงการฝึกอบรมดังกล่าวอย่างเสร็จสมบูรณ์ 

ทั้งนี้ โครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมทางวิชาชีพและการวิจัยเฉพาะทางมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการฝึกอบรมทางวิชาการและฝึกปฏิบัติการวิจัยในสาขาเภสัชศาสตร์เฉพาะทางให้แก่นักศึกษาแลกเปลี่ยน อันจะช่วยส่งเสริมภาพลักษณ์ของคณะฯ ให้เป็นที่ประจักษ์ในระดับสากล และเพื่อให้คณาจารย์และนักศึกษาได้มีโอกาสในการขยายขอบเขตของความคิด สามารถแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ รวมทั้งวัฒนธรรมผ่านความร่วมมือในระดับนานาชาติ ตอบสนองวิสัยทัศน์และพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากล และศูนย์กลางในการให้บริการวิชาการและวิชาชีพในระดับนสากล อันจะนำไปสู่การพัฒนาความเป็นนานาชาติของคณะฯ ต่อไป 

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/activities/3421

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา