Loading…

เภสัชมหิดลต้อนรับ Prof. Dr. rer. nat. Regine Schneider-Stock ศาสตราจารย์วุฒิคุณ ร่วมบรรยายพิเศษในการสัมมนาวิชาการ

602 ครั้ง   20 มีนาคม 2566

เมื่อวันจันทร์ที่ 20 มีนาคม 2566 เวลา 09.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานวิเทศสัมพันธ์ฯ จัดการต้อนรับ  Prof. Dr. rer. nat. Regine Schneider-Stock ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจาก มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ดำรงตำแหน่ง ศาสตราจารย์วุฒิคุณ (Adjunct Professor) ประจำคณะเภสัชศาสตร์ ในโอกาสที่เดินทางมาเยือนประเทศไทย และคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล เพื่อร่วมการสัมมนาวิชาการ และร่วมประชุมหารือกับผู้บริหารคณะฯ ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาณัฐชัย ม้ายอุเทศ ร่วมให้การต้อนรับและประชุมหารือดังกล่าวด้วย ณ ห้องประชุม 710 อาคารราชรัตน์

นอกจากนี้ Prof. Dr. rer. nat. Regine Schneider-Stock ยังได้ร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในการสัมมนาวิชาการ และบรรยายพิเศษ หัวข้อ \"Chorioallontoic Membrane (CAM) Assay\" ร่วมกับ อาจารย์ ดร.สุนทร ตันติถาวรวัฒน์ สังกัดคณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ให้เกียรติร่วมบรรยายพิเศษในหัวข้อ \"Organ-on-Chip mimicking tumor microenvironment: Translational mechanobiology of in vitro metastasis\" โดยมีคณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา ให้ความสนใจเข้าร่วมการสัมมนาดังกล่าว ณ ห้องบรรยาย 701 อาคารราชรัตน์

ทั้งนี้ การแต่งตั้งให้ Prof. Dr. rer. nat. Regine Schneider-Stock  เป็นศาสตราจารย์วุฒิคุณ ประจำคณะเภสัชศาสตร์ ในสาขา Biological Sciences/Genetics/Cancer Research โดยมีระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2565 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2570 ได้ช่วยสร้างบรรยากาศความเป็นนานาชาติทางการศึกษาของคณะฯ สนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลด้านความเป็นเลิศทางการวิจัยและการศึกษาในระดับสากล ผ่านการสร้างเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการและวิจัยกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในระดับนานาชาติ อีกทั้งยังสนับสนุนให้เกิดความร่วมมือทางวิชาการ เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์และพัฒนาความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพในสาขาต่างๆ ถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่การบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันระหว่างศาสตราจารย์วุฒิคุณจากต่างประเทศ และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อผลักดันสู่การเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก

นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา