Loading…

หลักสูตร MU-HTA ให้การต้อนรับเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเคนยาประจำประเทศไทย และอธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ

752 ครั้ง   29 พฤศจิกายน 2565
เมื่อวันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เวลา 13.00-14.30 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ และประธานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MU-HTA) พร้อมด้วย คณะกรรมการประจำหลักสูตรฯ และ Prof. Dr. Olivia Wu ร่วมให้การต้อนรับ คุณอุรีรัชต์ เจริญโต อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ (Thailand International Cooperation Agency: TICA) และ Mr. Kiptiness Lindsay Kimwole เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเคนยาประจำประเทศไทย ณ ห้องประชุมศาสตราจารย์คลินิกอุดม คชินทร ชั้น 4 อาคารวิจัยฯ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ การมาเยือนคณะฯ ของ อธิบดีกรมความร่วมมือระหว่างประเทศ และ เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐเคนยาประจำประเทศไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อเข้าเยี่ยมเยียนผู้รับทุนรัฐบาลไทยชาวเคนยา จำนวน 2 คน ได้แก่ 1) Ms.Patricia Nyokabi และ 2) Ms.Tabitha Okech ซึ่งเข้าศึกษาต่อในระดับปริญญาโทในสาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MU-HTA) ของมหาวิทยาลัยมหิดล ภายใต้โครงการส่งเสริมความร่วมมือทางวิชาการด้านการพัฒนาหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ระหว่างประเทศไทยกับประเทศเคนยา นอกจากนี้ ยังได้ร่วมประชุมหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐเคนยาอีกด้วย นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังนำไปสู่การพัฒนาความร่วมมือและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา