Loading…

อาจารย์เภสัชมหิดลร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ ในกิจกรรม Chiba University’s Faculty of Pharmaceutical Sciences Online Study Abroad Program

1004 ครั้ง   01 กุมภาพันธ์ 2565
เมื่อวันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 13.30-15.00 น. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก. ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายพิเศษ หัวข้อ Thai herbs and Siree Park ในกิจกรรม Chiba University’s Faculty of Pharmaceutical Sciences Online Study Abroad Program ซึ่งจัดโดย Sophia Global Education and Discovery Co., Ltd. (Sophia GED) ผ่านระบบ Zoom Meetings โดยมีนักศึกษาชาวญี่ปุ่นของ Chiba University ให้ความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมมากกว่า 50 คน ท้ั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษาชาวญี่ปุ่นของ Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chiba University ได้เรียนรู้เกี่ยวกับคุณค่าและประโยชน์ของสมุนไพรไทยทั้งในด้านของการใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารและการนำมาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ อธิบายให้นักศึกษาทราบถึงชนิดของสารสำคัญ การออกฤทธิ์ของสารสำคัญ และการใช้ยาสมุนไพรเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพ ตลอดจนการนำเอาสมุนไพรมาศึกษาวิจัยและความสำคัญของสมุนไพรกับระบบสุขภาพของประเทศไทย เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาชาวญี่ปุ่นได้เห็นถึงการใช้ยาสมุนไพรในประเทศทั้งระบบและเห็นถึงคุณค่าของพืชสมุนไพรในมุมมองของประเทศไทย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในระดับสากลระหว่างคณาจารย์และนักศึกษา รวมทั้งยังช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง คณะฯ อุทยานธรรมชาติวิทยาสิรีรุกขชาติ และ Faculty of Pharmaceutical Sciences, Chiba University อีกด้วย ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา