Loading…

เภสัชมหิดลลงนามความร่วมมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล

1605 ครั้ง   27 มกราคม 2565
เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม 2565 เวลา 09.00 - 10.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.บุษบา จินดาวิจักษณ์ และรองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ซึ่งจัดขึ้น ณ ห้องประชุม ชั้น 21 ตึก A โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล โดยในพิธีดังกล่าว มีผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองหน่วยงานร่วมลงนาม ดังนี้ 1. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ลงนามโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา 2. โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ลงนามโดย เภสัชกรหญิงอาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และ นายแพทย์อชิรวินทร์ จิรกมลชัยสิริ หัวหน้าฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล ทั้งนี้ ความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพและความเข้มแข็งในการพัฒนาวิชาการด้านเภสัชศาสตร์และบริบาลเภสัชกรรม ซึ่งประกอบด้วยรูปแบบความร่วมมือ อาทิ การฝึกอบรมหลักสูตรระยะสั้นทางการบริบาลเภสัชกรรมในสาขาต่างๆ ทั้งในระดับปริญญาและหลังปริญญา รวมไปถึงการพัฒนาศักยภาพและเตรียมความพร้อมสำหรับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เพื่อเป็นแหล่งฝึกงานทางเภสัชศาสตร์ชั้นเลิศของประเทศไทยและในระดับนานาชาติ นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังนับเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย และเป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา