Loading…

เภสัชมหิดลเข้าร่วมการประชุมนานาชาติ Symposium on Healthcare Priority Setting Methodology

1359 ครั้ง   13 พฤศจิกายน 2564
เมื่อวันเสาร์ที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง เข้าร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญ (Facilitator) ในการประชุมนานาชาติ Symposium on Healthcare Priority Setting Methodology ซึ่งจัดโดย บริษัท ฮอฟฟ์แมน-ลา โรช จำกัด ณ ประเทศไนจีเรีย (Roche Affiliate in Nigeria) ผ่านระบบ Zoom Meeting ทั้งนี้ การประชุมนานาชาติ Symposium on Healthcare Priority Setting Methodology จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์ และพัฒนาสมรรถนะด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment) และด้านการจัดลำดับความสำคัญของระบบสาธารณสุข (Healthcare Prioritization and its Setting) ให้แก่บุคลากรสาธารณสุขและนโยบายสุขภาพของประเทศไนจีเรีย เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาระบบประกันสุขภาพแห่งชาตของประเทศไนจีเรีย โดยมีกำหนดจัดการประชุม จำนวน 4 ครั้ง ดังนี้ - ครั้งที่ 1 วันที่ 4 พฤศจิกายน 2564 หัวข้อ Overview of the Thailand healthcare system, processes and selection criteria: How to adopt this to the Nigerian context บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง - ครั้งที่ 2 วันที่ 13 พฤศจิกายน 2564 หัวข้อ Healthcare prioritization using MCDA: Methodology and experience sharing from Thailand บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง - ครั้งที่ 3 วันที่ 18 พฤศจิกายน 2564 หัวข้อ Interventional selection using MCDA (medication / non-medication) บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง - ครั้งที่ 4 วันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 หัวข้อ Willingness to pay (WTP): How to define/ consideration and application into local context บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง นอกจากนี้ การประชุมนานาชาติดังกล่าวยังมีส่วนช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา