Loading…

เภสัชมหิดลลงนามความร่วมมือกับมูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ

1523 ครั้ง   29 ตุลาคม 2564
เมื่อวันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13.00-15.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย คณาจารย์ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ เข้าร่วมพิธีลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์) กับ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร ในพระอุปภัมภ์ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดี ซึ่งจัดขึ้น ณ โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ อ.เมือง จ.ปราจีนบุรี โดยในพิธีดังกล่าว มีผู้บริหารระดับสูงของทั้งสองหน่วยงานร่วมลงนาม ดังนี้ 1. มหาวิทยาลัยมหิดล (ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์) ลงนามโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน หัวหน้าภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ 2. มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ ลงนามโดย แพทย์หญิงโศรยา ธรรมรักษ์ ประธาน มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ และ ดร.ภญ.สุภาภรณ์ ปิติพร เลขาธิการ มูลนิธิโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศรฯ ทั้งนี้ ความร่วมมือทางวิชาการดังกล่าวมีเป้าหมายเพื่อการอนุรักษ์และสนับสนุนให้เกิดการใช้ประโยชน์ของสมุนไพรไทยอย่างยั่งยืน โดยการสร้างเครือข่ายการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชสมุนไพรของประเทศไทย ผ่านการรวบรวมและแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชสมุนไพรซึ่งกันและกัน ภายใต้กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังนับเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย และเป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา