Loading…

เภสัชมหิดลหารือความร่วมมือกับสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวท และธนาคารกสิกรไทย

1827 ครั้ง   02 สิงหาคม 2564
เมื่อวันจันทร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10.00 น. ผู้บริหารและนักวิจัยของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้มีโอกาสเข้าพบผู้บริหารระดับสูงของสถาบัน เค อะโกร-อินโนเวท และธนาคารกสิกรไทย และนำเสนอข้อมูลและแนวคิดการวิจัยสมุนไพรของคณะฯ ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการร่วมมือระหว่างสองสถาบันในโครงการ “น่าน Sandbox” ซึ่งเป็นโครงการที่ธนาคารกสิกรไทยเป็นผู้ริเริ่ม โดยโครงการดังกล่าวถูกออกแบบขึ้นเพื่อแก้ปัญหาด้านพื้นที่ป่าและความยากจนของประชากรในจังหวัดน่าน ผ่านแนวคิด “การบริหารพื้นที่รูปแบบพิเศษ” เพื่อให้ประชาชนสามารถ เปลี่ยนระบบการเกษตรเชิงเดี่ยวที่มีการใช้พื้นที่จำนวนมากแต่ได้ผลผลิตทางการเกษตรที่มูลค่าทางการตลาดต่ำ สู่การปลูกพืชทางเลือกที่มีคุณค่าสูงและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และทำให้รายได้ต่อไร่ของเกษตรกรเพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างยั่งยืน โดยพืชคุณค่าสูงที่ทางโครงการ “น่าน Sandbox” ให้ความสนใจ คือ พืชสมุนไพร ซึ่งเป็นความเข้มแข็งด้านวิชาการของคณะฯ มาอย่างต่อเนื่องยาวนานกว่า 50 ปี ทั้งนี้ ทั้งสององค์กรฯ เล็งเห็นประโยชน์ที่จะสามารถร่วมมือกันยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรผ่านการปลูกพืชสมุนไพร และทำการแปรรูปโดยใช้ศาสตร์ทางเภสัชศาสตร์ขั้นสูงในการผลิตสินค้าจากพืชสมุนไพรที่มีคุณค่าสูง เพื่อให้เกิดอุตสาหกรรมที่จะนำมาซึ่งความยั่งยืนของการพัฒนาชุมชนในระยะยาวต่อไป ซึ่งความสำเร็จของโครงการ “น่านแซนด์บ็อกซ์” อาจเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นๆ ในประเทศไทย และตรงกับจุดยืนของมหาวิทยาลัยมหิดลในการนำความรู้ไปใช้เพื่อประโยชน์ของประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ในหลายประเด็น อาทิ เป้าหมายที่ 1 คือ ขจัดความยากจนทกุรูปแบบในทุกพื้นที่ เป้าหมายที่ 2 คือ ยุติความหิวโหย บรรลุความมั่นคงทางอาหารและยกระดับโภชนาการและส่งเสริมเกษตรกรรมที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ เป้าหมายที่ 11 คือ ทำให้เมืองและการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์มีความครอบคลุม ปลอดภัย มีภูมิต้านทานและยั่งยืน เป้าหมายที่ 12 คือ สร้างหลักประกันให้มีรูปแบบการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน และเป้าหมายที่ 15 คือ ปกป้อง ฟื้นฟู และสนับสนุนการใช้ระบบนิเวศบนบกอย่างยั่งยืน จัดการป่าไม้อย่างยั่งยืน ต่อสู้กับการกลายสภาพเป็นทะเลทราย หยุดการเสื่อมโทรมของที่ดินและฟิ้นสภาพกลับมาใหม่ และหยุดการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา