เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ยาไอซ์ (Ice)


ภญ.กิตติมา วัฒนากมลกุล ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 474,127 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 22/01/2555
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

เป็นรูปแบบหนึ่งของ Methamphetamine หรือยาบ้า เนื่องจากมีรูปพรรณเป็นก้อนผลึกใสเหมือนน้ำแข็ง จึงมีชื่อเรียกขานในหมู่ผู้เสพว่า “ไอซ์” (Ice) เนื่องจากยาไอซ์มีความบริสุทธิ์เกือบ 100% จึงมีฤทธิ์แรงกว่ายาบ้า (บางคนเรียกว่า หัวยาบ้า) ส่วนใหญ่เป็นการจับกุมจากชาวต่างประเทศที่ลักลอบเข้ามาในประเทศไทย การลับลอบสังเคราะห์แอมเฟตามีนและเมทแอมเฟตามีนนั้น อาศัยขบวนการทางเคมีอย่างง่ายๆ ไม่มีความสลับซับซ้อน และสามารถทำตามวิธีสังเคราะห์ที่เขียนไว้เป็นสูตรสำเร็จ ซึ่งถ่ายทอดต่อกันมาในวงการ สารตั้งต้นของการผลิตมักเป็นอีพีดรีน ซูโดอีฟรีดีน ฯลฯ นิยมเสพโดยการนำผลึกลนไฟให้ระเหิด แล้วสูดไอของผลึกที่ได้เข้าปอด การออกฤทธิ์ก็จะผิดกับการเสพยาบ้าที่ใช้ลนไฟ เพราะการสูดควันของยาบ้าจะให้สารหลายอย่างซึ่งเป็นอันตรายต่อร่างกายมากกว่า ขณะที่การสูดไอของยาไอซ์จะได้เฉพาะ methamphetamine หรือ amphetamine เท่านั้น นอกจากนี้เมื่อเผาไหม้แล้วจะไม่มีกลิ่น จัดเป็นยาเสพติดให้โทษประเภทที่1 ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 
ยาไอซ์กระตุ้นประสาททำให้รู้สึกตื่นตัว บดบังความรู้สึกเหนื่อยล้า รู้สึกเคลิ้มฝัน อยู่นิ่งไม่ได้ นอนไม่หลับ ก้าวร้าวและรู้สึกเชื่อมั่นในตัวเองเกินไป ถ้าเสพในขนาดยาที่สูงยังเพิ่มความต้องการทางเพศ ซึ่งอาจนำไปสู่การสำส่อนทางเพศซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อเอดส์ได้ นอกจากนี้ทำให้ระบบประสาทส่วนกลางถูกกระตุ้นอย่างแรง เซลล์สมองจะถูกทำลาย ทำให้เกิดอาการซึมเศร้าหลังการใช้ยา และพบว่าผู้เสพมีแนวโน้มในการการฆ่าตัวตายในระหว่างการใช้ยา ผลจากการเสพยาเสพติดมากเกินขนาดจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อเกร็งตัว ตื่นตกใจกลัว ในรายที่มีอาการรุนแรงอาจชักหรือหมดสติ ระบบหายใจล้มเหลว ช็อกและเสียชีวิตได้ การใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะโรคจิตเช่นเดียวกับสารกระตุ้นประสาทตัวอื่นๆ มีความแตกต่างจากผู้เสพยาบ้า คือหลังเสพยาไอซ์จะมีความสดชื่นมีชีวิตชีวาไม่ซูบโทรมเหมือนยาบ้า คนที่เสพยานี้มักจะดูไม่ออกเพราะหน้าตาจะเบิกบานไม่เหมือนคนเสพยาทั่วๆไป ยาตัวนี้ไม่ได้มีแพร่หลายกันทั่วไปเนื่องจากหายากและราคาค่อนข้างสูง้

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. กองควบคุมวัตถุเสพติด สำนักคณะกรรมการอาหารและยา. ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับยา ice (ไอซ์). [Online]; 2006. Available form: http://www.nct.ago.go.th/knowledge_drug.html [Accessed 2011 Aug 19]
  2. ศูนย์บำบัดรักษายาเสพติด เชียงใหม่. ข้อมูลเกี่ยวกับยาไอช์ [Online]; 2007. Available form: http://www.drugcare.net/webboard.php?iMMode=preview&iQID=24&iGID=3 [Accessed 2011 Aug 19]
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาไอซ์ (Ice) 1 วินาทีที่แล้ว
แอสไพริน (aspirin) 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้