เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ภาวะอักเสบหลายระบบในเด็ก (multisystem inflammatory syndrome in children; MIS-C)


อาจารย์ ดร.ภก.วสุ ศุภรัตนสิทธิ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://www.news-medical.net/image.axd?p...918865.jpg
อ่านแล้ว 3,949 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 27/05/2565
อ่านล่าสุด 22 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

          จากสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อโคโรน่าไวรัส 2019 (COVID-19) ระลอกล่าสุดในประเทศไทยตั้งแต่ประมาณเดือนมกราคม พ.ศ. 2565 มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งคาดการณ์ว่า ส่วนใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัสสายพันธุ์โอมิครอน (Omicron) ในระลอกนี้จะเห็นว่ามีการติดเชื้อในเด็กมากขึ้น อาจจะเป็นเพราะการได้รับวัคซีนก่อนหน้านี้ในเด็กมีค่อนข้างจำกัด โรงเรียนหลายแห่งเริ่มเปิดให้มีการเรียนการสอนมากขึ้น รวมถึงไวรัสสายพันธุ์นี้มีอัตราการแพร่ระบาดที่ค่อนข้างสูง มีค่า R0 อยู่ที่ 8 – 15 ซึ่งแปลความหมายได้ว่าผู้ติดเชื้อ 1 คน สามารถแพร่เชื้อไปให้ผู้อื่นได้ 8 ถึง 15 คน 

ภาพจาก : https://www.chla.org/sites/default/files/thumbnails/image/Mis-C.jpg 

          ในเด็กที่มีอาการไม่มากและมีความเสี่ยงน้อย แพทย์อาจพิจารณาให้เด็กรักษาด้วยการกักตัวอยู่ที่บ้าน (home isolation) ซึ่งหลังจากกักตัวครบ 10 วันแล้ว แม้ว่าเด็ก ๆ จะมีอาการดีขึ้นหรือไม่มีอาการของ COVID-19 ผู้ปกครองยังต้องหมั่นสังเกตและเฝ้าระวังภาวะอักเสบที่อาจจะเกิดขึ้นภายหลังติดเชื้อในเด็กได้ ภาวะนี้คือ multisystem inflammatory syndrome in children (MIS-C) 

          MIS-C คือ กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบในเด็ก โดยมีอาการอักเสบในอวัยวะต่าง ๆ ทั่วร่างกาย สาเหตุยังไม่แน่ชัด เชื่อว่าเกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่สูงผิดปกติระหว่างเป็น COVID-19 อาการของโรคจะคล้ายกับผู้ป่วยโรคคาวาซากิ (Kawasaki disease) 

ข้อมูลระบาดวิทยา

  • พบในผู้ป่วยอายุ 0 – 21 ปี โดยเฉลี่ยมักพบในอายุ 9 – 10 ปี
  • มักพบในเด็กผู้ชายมากกว่าเด็กผู้หญิง
  • มีรายงานพบในเด็กร้อยละ 0.03 ของเด็กที่เป็น COVID-19 ทั้งหมด และมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 3 ของเด็กที่เป็น MIS-C

อาการของ MIS-C

  • ไข้มากกว่า 38 ℃ นานมากกว่า 24 ชั่วโมง
  • พบผื่น หรือมือเท้าบวม
  • ปากแห้งแตก
  • ตาแดง
  • ต่อมน้ำเหลืองโต
  • ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • หายใจลำบาก

การรักษา MIS-C

          แพทย์จะวินิจฉัยจากอาการและผลตรวจทางห้องปฏิบัติการเพิ่มเติม เพื่อวินิจฉัยแยกโรคจากโรคอื่น โดยจะรักษาตามอาการแสดงของผู้ป่วยแต่ละคน และอาจจะพิจารณาให้ immunoglobulin หรือใช้ยาในกลุ่ม Glucocorticoids ตามความเหมาะสม 
          ดังนั้นเพื่อความปลอดภัยของบุตรหลาน ผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง สังเกตอาการของเด็กที่เป็น COVID-19 อย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะภายใน 4 ถึง 8 สัปดาห์หลังจากติดเชื้อ หากมีอาการผิดปกติให้รีบพามาโรงพยาบาล รวมทั้งการใช้ยาทุกครั้งควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ หรือเภสัชกร เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการใช้ยากับท่านเอง และอย่าลืมว่า “มีปัญหาเรื่องยา ปรึกษาเภสัชกรนะครับ” 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์เด็กแห่งประเทศไทย. แนวทางปฏิบัติในการวินิจฉัยและดูแลรักษา กลุ่มอาการอักเสบหลายระบบที่เกี่ยวข้องกับโรคโควิด-19 ในเด็ก (Multisystem Inflammatory Syndrome in Children; MIS-C) ในประเทศไทย [cited 2022 May 19]. Available from: https://www.pidst.or.th/A1161.html 
  2. McArdle AJ, Vito O, Patel H, Seaby EG, Shah P, Wilson C, et al. Treatment of Multisystem Inflammatory Syndrome in Children. N Engl J Med. 2021 Jul 1;385(1):11–22.
  3. Nakra N, Blumberg D, Herrera-Guerra A, Lakshminrusimha S. Multi-System Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) Following SARS-CoV-2 Infection: Review of Clinical Presentation, Hypothetical Pathogenesis, and Proposed Management. Children. 2020 Jul 1;7(7):69.
  4. Radia T, Williams N, Agrawal P, Harman K, Weale J, Cook J, et al. Multi-system inflammatory syndrome in children & adolescents (MIS-C): A systematic review of clinical features and presentation. Paediatr Respir Rev. 2021 Jun;38:51–7.
  5. Surve SV, Joseph S, Gajbhiye RK, Mahale SD, Modi DN. A systematic review on Multisystem Inflammatory Syndrome in Children (MIS-C) with COVID-19: Development of a scoring system for clinical diagnosis [Internet]. Pediatrics; 2021 Apr [cited 2022 May 19]. Available from: http://medrxiv.org/lookup/doi/10.1101/2021.04.23.21255879 


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


3 วินาทีที่แล้ว
ดอกคาโมมายล์ 7 วินาทีที่แล้ว
สารกันราในขนมปัง 12 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้