เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ยากินกับยาฉีด...เลือกชนิดใด


รองศาสตราจารย์ ดร. เภสัชกรหญิง นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์
หน่วยคลังข้อมูลยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก : https://www.assignmentclub.co.uk/images/Oral-medication-vs.-Injections.jpg
อ่านแล้ว 39,499 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 20/04/2564
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว
Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
&level=L" border="0" alt=" Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
" style="margin-top:10px;border:1px solid #eee" />
Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ Access Denied
Access Denied (authentication_failed)
Your username or password incorrect : General authentication failure due to bad user ID or authentication token. You will not be permitted access until your credentials can be verified.
This is typically caused by an incorrect username or password, but could also be caused by network authenticated problems.
Mahidol University will launch the new network authentication system on August 1, 2014. Please check the username required for accessing the university Internet, MU WiFi and VPN from August 1, 2014 onwards.

read more

มหาวิทยาลัยปรับเปลี่ยนระบบการยืนยันตัวตน (Network Authentication) ในการเข้าใช้งานระบบ Internet, MU WiFi และ VPN ของมหาวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2557 เป็นต้นไป

รายละเอียดเพิ่มเติม

For assistance, contact internet consult support team email consult@mahidol.ac.th or 02-849-6228,02-849-6229.
 


ไม่ว่ายากินหรือยาฉีดล้วนมีทั้งข้อดีและข้อด้อย ยากินมีหลายรูปแบบให้เลือกใช้ มีทั้งยาเม็ด ยาแคปซูลและยาน้ำ การใช้สะดวกและประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ยากินไม่ได้ออกฤทธิ์ทันที จึงไม่เหมาะกับผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาเร่งด่วน และไม่สามารถใช้กับผู้ที่กำลังอาเจียนหรือไม่รู้สึกตัว ส่วนยาฉีดมีการให้ยาได้หลายวิธี วิธีที่ใช้กันมาก ได้แก่ การฉีดเข้าหลอดเลือดดำ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อและการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ซึ่งการฉีดเข้าหลอดเลือดดำยาออกฤทธิ์ได้ทันที จึงเหมาะกับผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาเร่งด่วน แต่การฉีดยาทำให้เจ็บตัวและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อีกทั้งต้องไปสถานพยาบาลเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ฉีดจึงเกิดความไม่สะดวก บางคนมีความเชื่อว่ายาฉีดมีประสิทธิภาพสูงว่ายากินแต่ความจริงไม่เป็นเช่นนั้น ประสิทธิภาพในการรักษาโรคของยากินไม่ด้อยไปกว่ายาฉีดแต่มีความปลอดภัยมากกว่ายาฉีด ในบทความนี้ให้ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับยากินและยาฉีด ข้อดีและข้อด้อยของยากินและยาฉีด และกรณีใดควรใช้ยากินหรือใช้ยาฉีด



ภาพจาก : https://www.ncctrainingresources.co.uk/wp-content/uploads/2017/10/10198902_m_1.jpg

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับยากิน

รูปแบบยากินที่ใช้กันมาก ได้แก่ ยาเม็ด ยาแคปซูลและยาน้ำ ซึ่งยาน้ำมักเป็นยาน้ำเชื่อมหรือยาผงสำหรับผสมน้ำให้เกิดเป็นยาน้ำแขวนตะกอน (suspension)

ส่วนประกอบในยากิน ยากินไม่ว่าจะเป็นยาเม็ด ยาแคปซูลหรือยาน้ำ มีส่วนประกอบหลายอย่าง โดยเฉพาะยาเม็ด ซึ่งนอกจากตัวยาสำคัญแล้วยังมีสารอื่น เช่น สารช่วยเพิ่มปริมาณ (diluent) ใช้ในกรณีที่ตัวยาสำคัญมีปริมาณน้อย เพื่อให้ส่วนผสมมีปริมาณเพียงพอสำหรับทำเป็นยาเม็ดหรือบรรจุในแคปซูล, สารช่วยให้ส่วนผสมจับกันได้ดี (binder หรือ granulating agent) เพื่อช่วยในการตอกเป็นยาเม็ด, สารช่วยให้ยาเม็ดแตกตัวในทางเดินอาหาร (disintegrant), สารช่วยให้ตัวยาแขวนลอยอยู่ในน้ำ (suspending agent) ใช้ในกรณีที่เป็นยาน้ำแขวนตะกอน, สารแต่งสี ซึ่งใช้เคลือบสียาเม็ด แต่งสีปลอกแคปซูลและแต่งสียาน้ำ, สารแต่งกลิ่นและสารแต่งรสในกรณีที่เป็นยาเม็ดและยาน้ำ เป็นต้น ดังนั้นหากเกิดปฏิกิริยาภูมิไวเกิน (hypersensivity) ต่อยาที่กินหรือการแพ้ยา จะหาสาเหตุได้ยากว่าเกิดจากสารใด

ยากินไม่ได้ออกฤทธิ์โดยทันที ภายหลังกินยาเม็ดหรือยาแคปซูลต้องรอให้เม็ดยาแตกตัวหรือปลอกแคปซูลละลายเพื่อปลดปล่อยตัวยาออกมา หากเป็นยาน้ำไม่มีขั้นตอนนี้ ตัวยาที่ปลดปล่อยออกมาจะละลายในของเหลวในทางเดินอาหารก่อนถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด (คำว่า “ถูกดูดซึม” หมายถึงตัวยาถูกดูดซึมจากบริเวณที่ให้ยาซึ่งในกรณียากินคือจากทางเดินอาหารเพื่อเข้ากระแสเลือด ตัวยาที่ไม่ถูกดูดซึมจะถูกขับออกมากับอุจจาระ) การดูดซึมยาแต่ละชนิดจากทางเดินอาหารมีความแตกต่างกันทั้งด้านความเร็วและปริมาณ ยาในกระแสเลือดจะกระจายไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและไปยังตำแหน่งที่ออกฤทธิ์เพื่อการรักษาโรค ด้วยเหตุนี้ยากินจึงไม่ได้ออกฤทธิ์โดยทันที

เหตุใดยากินจึงใช้ในขนาดที่มากกว่ายาฉีด ไม่ว่ายาเม็ด ยาแคปซูลหรือยาน้ำ ตัวยาที่อยู่ในกระเพาะอาหารบางส่วนอาจถูกทำลายโดยน้ำย่อยซึ่งมีทั้งเอนไซม์และกรดเกลือ (hydrochloric acid) นอกจากนี้มียาบางส่วนที่ไม่ถูกดูดซึมและถูกขับออกทางอุจจาระ ทำให้ปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดมีน้อยกว่าปริมาณที่กิน อย่างไรก็ตามยากินที่นำมาใช้ส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบดังกล่าวน้อยหรือปานกลาง หากยาใดได้รับผลกระทบมากอาจต้องใช้ในรูปยาฉีด (ดูหัวข้อ เหตุใดยาบางชนิดจึงมีเฉพาะยาฉีด) ยาที่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารจะเข้าหลอดเลือดดำที่ไปตับ (portal vein) ถือเป็นการผ่านตับครั้งแรก ซึ่งตับมีเอนไซม์มากมายที่พร้อมจะเปลี่ยนตัวยาไปเป็นสารอื่น (เกิด first-pass effect) จึงเหลือตัวยาที่จะไปออกฤทธิ์ลดลงไปอีก ด้วยเหตุนี้ยากินจึงใช้ในขนาดที่มากกว่ายาฉีด (โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ) ตัวอย่างยาที่มีถูกเปลี่ยนเป็นสารอื่นได้ค่อนข้างชัดเจนเมื่อผ่านตับครั้งแรก เช่น อิมิพรามีน (imipramine), โพรพราโนลอล (propranolol), มอร์ฟีน (morphine)

ข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับยาฉีด

ยาฉีดมีการให้ได้หลายวิธี กรณีที่หวังผลให้ออกฤทธิ์ทั่วร่างกายมักให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำ (intravenous injection), การฉีดเข้ากล้ามเนื้อ (intramuscular injection) และการฉีดเข้าใต้ผิวหนัง (subcutaneous injection) ยาฉีดต้องปราศจากเชื้อ ในกรณีที่เป็นยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำต้องเป็นสารละลายใสและปราศจากอนุภาคใด ๆ การฉีดยาไม่ว่าวิธีใดที่กล่าวมาต้องทำโดยใช้เทคนิคปลอดเชื้อ (aseptic technique)

ส่วนประกอบในยาฉีด นอกเหนือจากตัวยาสำคัญยังมีสารอื่นผสมอยู่ ซึ่งแตกต่างกันไปขึ้นกับชนิดของยาฉีด ตัวอย่างสารอื่น เช่น ตัวทำละลาย (solvent), สารบัฟเฟอร์ (buffering agent), สารช่วยละลายตัวยา (solubilizing agent), สารปรับสภาพตึงตัว (tonicity adjusting agent), สารต้านการเจริญของแบคทีเรีย (antibacterial agent), กรดหรือด่างเพื่อปรับพีเอช

ยาฉีดทุกชนิดออกฤทธิ์ทันทีหรือไม่ ยาที่จะกระจายไปส่วนต่าง ๆ ของร่างกายและไปยังตำแหน่งที่ออกฤทธิ์ได้ต้องอยู่ในกระแสเลือด การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำปริมาณยาทั้งหมดจะเข้ากระแสเลือด (100%) และออกฤทธิ์ได้ทันที ส่วนการฉีดเข้ากล้ามเนื้อและการฉีดเข้าใต้ผิวหนังยาจะใช้เวลาในการดูดซึมจากตำแหน่งที่ฉีดเพื่อเข้ากระแสเลือด จึงไม่ได้ออกฤทธิ์โดยทันที นอกจากนี้ปริมาณยาที่เข้ากระแสเลือดไม่เท่ากับปริมาณที่ฉีด อย่างไรก็ตามยาฉีดชนิดที่เป็นสารละลายในน้ำจะออกฤทธิ์ได้เร็วเมื่อฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือฉีดเข้าใต้ผิวหนัง

เหตุใดยาฉีดบางชนิดผลิตในรูปยาผงแห้ง ยาบางชนิดไม่คงตัวในน้ำหรือเมื่อถูกความชื้น ทำให้ยามีอายุการใช้สั้น จึงทำในรูปยาผงแห้ง (lyophilized powder) ก่อนใช้จึงละลายด้วยน้ำหรือตัวทำละลายอื่นที่เหมาะสม ยาฉีดที่ทำในรูปยาผงแห้งส่วนใหญ่เป็นยาประเภทโปรตีนหรือเปปไทด์ กรดนิวคลีอิก และยาที่พัฒนามาจากสารธรรมชาติ

เหตุใดยาบางชนิดจึงมีเฉพาะยาฉีด ยาบางชนิดถูกดูดซึมจากทางเดินอาหารได้ไม่ดีหรือถูกทำลายโดยน้ำย่อยในกระเพาะอาหาร ในน้ำย่อยมีเอนไซม์ย่อยโปรตีนจึงไม่สามารถให้ยาที่เป็นโปรตีนหรือเปปไทด์ เช่น อินซูลิน (insulin), กลูคากอน (glucagon), เฮพาริน (heparin) โดยการกิน (ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อพัฒนาตำรับยากินที่ตัวยาเป็นโปรตีน) น้ำย่อยมีสภาพความเป็นกรดสูงเนื่องจากมีกรดเกลือเป็นส่วนประกอบ ยาชีววัตถุ (biological drugs) จะไวต่อสภาพแวดล้อมในกระเพาะอาหาร (ทั้งเอนไซม์และกรด) ซึ่งยาชีววัตถุเป็นกลุ่มยาที่ตัวยาสำคัญได้มาจากสิ่งมีชีวิต (อาจมาจากคน สัตว์หรือจุลชีพ) หรือได้จากการผลิตขึ้นด้วยกรรมวิธีทางเทคโนโลยีชีวภาพ มีส่วนประกอบเป็นพวก น้ำตาล โปรตีน กรดนิวคลิอิก เซลล์หรือชิ้นส่วนของเซลล์ เป็นต้น ตัวอย่างยาชีววัตถุ เช่น วัคซีน, ยากลุ่มโมโนโคลนอลแอนติบอดี (monoclonal antibodies) เช่น ริทูซิแมบ (rituximab), ยากลุ่มโปรตีนลูกผสม (recombinant fusion proteins) เช่น อีทาเนอร์เซป (etanercept) นอกจากนี้ยาชีววัตถุยังมีโมเลกุลขนาดใหญ่จึงถูกดูดซึมผ่านทางเดินอาหารได้ยากต้องให้โดยการฉีด

ยากินกับยาฉีด...เปรียบเทียบข้อดีและข้อด้อย

ทั้งยากินและยาฉีดล้วนมีข้อดีและข้อด้อยหลายอย่าง (ดูตาราง) ดังกล่าวข้างล่างนี้

ยากิน ไม่ว่ายาเม็ด ยาแคปซูลหรือยาน้ำ ล้วนมีความสะดวกในการใช้ยา ไม่ต้องไปสถานพยาบาล ประหยัดค่าใช้จ่าย และหากได้รับยาผิดหรือได้รับยาเกินขนาดสามารถแก้ไขโดยเร็วได้ในเบื้องต้นด้วยการทำให้อาเจียนและการล้างท้อง แต่ยากินเริ่มออกฤทธิ์ช้าจึงไม่เหมาะในรายฉุกเฉิน ยาบางชนิดมีกลิ่นและรสไม่ดี อีกทั้งปริมาณยาที่ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือดน้อยกว่าปริมาณที่กิน เนื่องยาบางส่วนถูกทำลายโดยน้ำย่อยหรือถูกดูดซึมไม่หมด นอกจากนี้ยาอาจถูกทำลายโดยเอนไซม์ในตับเมื่อผ่านตับครั้งแรก (ดังกล่าวแล้วข้างต้น) ด้วยเหตุนี้ยากินจึงมักใช้ในปริมาณที่มากกว่ายาชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำ ยากินไม่สามารถใช้กับผู้ที่กำลังอาเจียนหรือไม่รู้สึกตัว ผู้ที่มีแผลรุนแรงในปากและหลอดอาหาร (เช่น ผู้ป่วยโรคมะเร็ง) ส่วนผู้ที่มีปัญหาเรื่องการกลืนแม้จะให้ยาผ่านสายให้อาหาร (nasogastric tube) ได้แต่มีความยุ่งยาก ยากินไม่สามารถรักษาระดับยาในเลือดให้คงที่ได้นาน เนื่องจากภายหลังกินยาระดับยาในเลือดจะสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงระดับสูงสุดเมื่อยาถูกดูดซึมหมดแล้ว จากนั้นระดับจะลดลงเรื่อย ๆ เนื่องจากการกำจัดยา ระดับยาจึงไม่คงที่ แม้จะมีการพัฒนาเป็นรูปแบบที่ควบคุมการปลดปล่อยตัวยาเพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้นานก็ตาม นอกจากนี้หากเกิดการแพ้ยาจะหาสาเหตุได้ยากเนื่องจากยากินมีส่วนผสมหลายอย่าง

ยาฉีด การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำปริมาณยาทั้งหมด (100%) จะเข้ากระแสเลือดโดยไม่มีขั้นตอนการดูดซึม และยาในกระแสเลือดไปยังตำแหน่งที่ออกฤทธิ์ได้ทันที จึงเหมาะกับภาวะฉุกเฉินที่ต้องให้การรักษาอย่างเร่งด่วน ยาฉีดใช้ได้กับผู้ที่กำลังอาเจียนหรือผู้ที่ไม่รู้สึกตัว การให้ยาฉีดอย่างช้า ๆ โดยการหยดเข้าหลอดเลือดดำแก่ผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวในสถานพยาบาล สามารถให้ในปริมาณมากและควบคุมระดับยาในเลือดให้คงที่ได้นานตามที่ต้องการ นอกจากนี้ยังสะดวกเมื่อต้องให้ยาหลายชนิด (โดยการให้ผ่านเข็มที่สอดเข้าหลอดเลือดดำเตรียมไว้อยู่แล้ว) ส่วนกรณีที่ต้องการให้ยาถูกดูดซึมอย่างช้า ๆ เพื่อให้ออกฤทธิ์ต่อเนื่องได้นานสามารถให้ในรูปยาแขวนตะกอนโดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ เช่น ยาฉีดเมดร็อกซีโพรเจสเทอโรนแอซีเทต (medroxyprogesterone acetate) ซึ่งเป็นยาฉีดคุมกำเนิดแบบ 3 เดือน อย่างไรก็ตามยาฉีดมีความไม่สะดวกเนื่องจากต้องให้บุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ฉีด (ยกเว้นยาบางชนิดที่พัฒนาเป็นรูปแบบที่ผู้ป่วยฉีดเองได้) ทำให้เสียเวลาและเสียค่าใช้จ่ายมาก การฉีดทำให้เจ็บตัวและตัวยาบางชนิดทำให้รู้สึกปวด การฉีดยายังทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อและเป็นอัมพาต (paralysis) เนื่องจากการฉีดที่ไม่ถูกต้อง ยาฉีดทำให้เกิดผลไม่พึงประสงค์ได้มากกว่าและรุนแรงกว่ายากิน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเกิดการแพ้ยา นอกจากนี้หากฉีดยาผิดหรือฉีดเกินขนาดจะแก้ไขได้ยาก



กรณีใดใช้ได้เฉพาะยากิน

หากต้องการให้ยาออกฤทธิ์ภายในทางเดินอาหาร ยาที่ใช้ต้องเป็นยากินที่ไม่ถูกดูดซึมจากทางเดินอาหาร หรือถูกดูดซึมได้ไม่ดี (จะไม่ใช้ยาฉีด) เช่น ยาถ่ายพยาธิในลำไส้, ยาต้านจุลชีพ (หรือที่ประชาชนมักเรียกว่า “ยาฆ่าเชื้อ”) ที่ใช้กำจัดเชื้อแบคทีเรียภายในลำไส้ เช่น ไรฟาซิมิน (rifaximin), ยายับยั้งเอนไซม์แอลฟากลูโคซิเดส (alpha-glucosidase) ในลำไส้เล็ก ซึ่งเอนไซม์นี้ย่อยแป้งและน้ำตาลโมเลกุลคู่ (disacchaide) ให้เป็นน้ำตาลกลูโคส ยาที่ยับยั้งเอนไซม์ดังกล่าวจึงช่วยลดน้ำตาลในเลือดและนำมาใช้รักษาโรคเบาหวาน เช่น อะคาร์โบส (acarbose), โวกลิโบส (voglibose)

กรณีใดควรใช้ยาฉีดมากกว่ายากิน

การฉีดยาเข้าหลอดเลือดดำ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อและการฉีดเข้าใต้ผิวหนังเพื่อหวังผลให้ยาออกฤทธิ์ต่อระบบทั่วร่างกายเช่นเดียวกับการกินยา ยาฉีดมีทั้งข้อดีและข้อด้อยหลายอย่างเมื่อเทียบกับยากินดังได้กล่าวข้างต้น อย่างไรก็ตามยาฉีดมีความเหมาะสมกว่ายากินในกรณีดังนี้
  1. ผู้ป่วยวิกฤติหรือผู้ป่วยในภาวะฉุกเฉินซึ่งต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน ยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำให้ปริมาณยาในกระแสเลือดเท่ากับปริมาณยาที่ฉีดและไปยังตำแหน่งที่ออกฤทธิ์ได้ทันที หากพ้นช่วงวิกฤติแล้วและเมื่อผู้ป่วยสามารถกินยาได้ควรเปลี่ยนเป็นยากินที่เหมาะสม (ในกรณีที่ต้องให้การรักษาต่อไปอีก)
  2. ผู้ที่กำลังอาเจียน ผู้ที่ไม่รู้สึกตัว ผู้ที่กลืนยาไม่ได้ ตลอดจนผู้ที่ทางเดินอาหาร (เช่น ปากและหลอดอาหาร) เป็นแผล
  3. ผู้ป่วยที่นอนรักษาตัวอยู่ในสถานพยาบาลซึ่งไม่สะดวกในการกินยา การให้ยาทางหลอดเลือดดำผ่านเข็มที่สอดไว้แล้วช่วยเพิ่มความสะดวกเมื่อต้องให้ยาหลายชนิด นอกจากนี้ยังสามารถให้ยาโดยหยดเข้าหลอดเลือดดำอย่างช้า ๆ เพื่อให้มีระดับยาในเลือดคงที่เป็นเวลานานตามที่ต้องการ
  4. ผู้ป่วยบางรายมีความจำเป็นต้องใช้ยาฉีดซึ่งไม่สามารถทดแทนด้วยยากิน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวานแบบที่ 1 ซึ่งต้องใช้ยาฉีดอินซูลิน
  5. ในบางกรณีแม้สามารถใช้ยากินได้ แต่การใช้ยาฉีดจะให้ผลในการรักษาดีกว่า เช่น

    --ผู้ที่ต้องได้รับวิตามินรวมถึงสารอาหารอื่นร่วมกันหลายชนิด ซึ่งการกินยาแต่ละชนิดอาจได้รับในปริมาณไม่ครบตามต้องการ เพราะการดูดซึมวิตามินและสารอาหารอื่นจากทางเดินอาหารเข้ากระแสเลือดมีความซับซ้อน จึงต่างจากการให้โดยการฉีดเข้าหลอดเลือดดำโดยตรง

    --ผู้ป่วยที่ไม่ให้ความร่วมมือในการกินยา อีกทั้งผู้ดูแลอาจไม่สะดวกในการให้ผู้ป่วยกินยาทุกวัน ด้วยเหตุนี้การใช้ยาฉีดชนิดออกฤทธิ์ได้นานจึงเป็นทางเลือกที่ดี เพื่อจะได้มั่นใจว่าผู้ป่วยได้รับยาสม่ำเสมอและมีระดับยาในเลือดค่อนข้างดีกว่ายากิน เช่น ยาบำบัดโรคจิต ชนิดฉีดทุก 2-4 สัปดาห์หรืออาจนานกว่านี้

    --ผู้ที่ต้องการคุมกำเนิด แต่ไม่เหมาะที่จะใช้ยาเม็ดฮอร์โมนรวมชนิดรับประทานทุกวัน เนื่องจากการลืมกินยา หรือเป็นผู้ที่เสี่ยงต่อการได้รับผลเสียจากฮอร์โมนประเภทเอสโตรเจน ยาฉีดคุมกำเนิดเมดร็อกซีโพรเจสเทอโรนแอซีเทตชนิดฉีดเข้ากล้ามเนื้อทุก 3 เดือนจึงเป็นทางเลือกที่ดีทางหนึ่ง เนื่องจากตัวยาเป็นฮอร์โมนประเภทโพรเจสตินและการฉีดแต่ละครั้งสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้นาน 3 เดือน
ประสิทธิภาพของยากินไม่ด้อยกว่ายาฉีด

แม้ว่ายาฉีดโดยเฉพาะอย่างยิ่งชนิดฉีดเข้าหลอดเลือดดำจะออกฤทธิ์ได้เร็ว ซึ่งเหมาะกับการใช้ในภาวะฉุกเฉิน แต่ในด้านประสิทธิภาพหากเป็นตัวยาชนิดเดียวกันแล้ว ไม่ว่าจะเป็นยากินหรือยาฉีดเมื่อใช้ในขนาดที่แนะนำมีประสิทธิภาพในการรักษาโรคพอ ๆ กัน ซึ่งยาแต่ละชนิดก่อนได้รับอนุมัติให้ใช้รักษาโรคล้วนผ่านการศึกษาด้านประสิทธิภาพและความปลอดภัยมาแล้ว ด้วยเหตุนี้หากผู้ป่วยไม่เข้าข่ายว่าเป็นผู้ที่ควรใช้ยาฉีดมากกว่ายากิน (ดูหัวข้อ กรณีใดควรใช้ยาฉีดมากกว่ายากิน) แนะนำว่าควรใช้ยากิน เนื่องจากมีความสะดวกและมีผลไม่พึงประสงค์น้อยกว่ายาฉีด

เอกสารอ้างอิง
  1. Ruiz ME, Montoto SS. Chapter 6: Routes of drug administration. In: Talevi A, Quiroga PAM, editors. ADME Processes in Pharmaceutical Sciences: dosage, design, and pharmacotherapy success. Cham, Switzerland: Springer, 2018:97-133.
  2. Verma P, Thakur AS, Deshmukh K, Jha AK, Verma S. Routes of drug administration. IJPSR 2010; 1:54-9.
  3. Alagga AA, Gupta V. Drug absorption, updated: February 6, 2021. In: StatPearls. Treasure Island (FL): StatPearls Publishing, 2021. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK557405/. Accessed: April 2, 2021.
  4. Le J. Drug administration, revision: October 2020. https://www.msdmanuals.com/home/drugs/administration-and-kinetics-of-drugs/drug-administration#. Accessed: April 2, 2021.
  5. Correll CU, Kim E, Sliwa JK, Hamm W, Gopal S, Mathews M, et al. Pharmacokinetic characteristics of long-acting injectable antipsychotics for schizophrenia: an overview. CNS Drugs 2021; 35:39-59.
  6. Titus-Lay EN, Ansara ED, Isaacs AN, Ott CA. Evaluation of adherence and persistence with oral versus long-acting injectable antipsychotics in patients with early psychosis. Ment Health Clin 2018; 8:56-62.
  7. McCarthy K, Avent M. Oral or intravenous antibiotics? Aust Prescr 2020; 43:45-8.
  8. Zizzari AT, Pliatsika D, Gall FM, Fischer T, Riedl R. New perspectives in oral peptide delivery. Drug Discov Today 2021. doi: 10.1016/j.drudis.2021.01.020. Accessed: April 2, 2021.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้

งานประชุมวิชาการที่กำลังเปิดรับสมัคร


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาตีกัน 1 วินาทีที่แล้ว
6 วินาทีที่แล้ว
11 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้