เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ผู้ป่วยที่เป็นโรคโควิด-19 (COVID-19) สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่


รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. บุษบา จินดาวิจักษณ์ รองศาสตราจารย์ ภก. ปรีชา มนทกานติกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล


ภาพประกอบจาก: https://www.thailandmedical.news/uploads...ch(16).jpg
อ่านแล้ว 134,692 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 17/07/2563
อ่านล่าสุด 16 นาทีที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 


“ผู้ป่วยที่เป็นโรค COVID-19 สามารถกลับมาเป็นซ้ำอีกครั้งได้หรือไม่” 
คำถามนี้เป็นคำถามที่ถูกถามกันมากคำถามหนึ่ง ซึ่งในปัจจุบันยังมีข้อมูลไม่มากนัก การศึกษาเบื้องต้นในลิงโดยการทำให้ติดเชื้อซ้ำ พบว่า ลิงจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้1 
 
ภาพจาก : https://healthsystemsglobal.org/wp-content/uploads/2020/05/3GPdnboQ.jpeg 
สำหรับการศึกษาในมนุษย์ พบรายงานการเกิดการติดเชื้ออีกครั้งจากผู้ป่วยในประเทศจีน โดยพบร้อยละ 14 ของผู้ป่วย ภายใน 1 สัปดาห์หลังจากผู้ป่วยออกจากโรงพยาบาล โดยพบว่าผู้ป่วยที่มีการติดเชื้ออีกครั้งมักพบในผู้สูงอายุ มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมีโรคประจำตัวหลายชนิด ซึ่งอาจจะเป็นไปได้ว่าผู้ป่วยเหล่านี้มีการสร้างภูมิคุ้มกันที่ไม่สูงพอที่จะป้องกันการติดเชื้อซ้ำ หรือผู้ป่วยเหล่านี้อาจจะมีความเสี่ยงสูงต่อการติดเชื้อซ้ำจากผู้ป่วยคนอื่นในชุมชน2 
อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันเราไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 จะเกิดขึ้นได้เร็วเพียงใดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง โดยทั่วไป ผู้ป่วยมักจะสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ขึ้น ภายใน 10-14 วันหลังสัมผัสเชื้อ นอกจากนี้ ยังไม่ทราบว่าภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้นจะอยู่ได้ยาวนานเพียงใด ข้อมูลจากเชื้อตระกูลเดียวกับเชื้อไวรัสโควิด-19 พบว่า ภูมิคุ้มกันสามารถลดลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้น การติดเชื้อซ้ำจึงมีโอกาสเป็นไปได้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง และจำเป็นจะต้องติดตามกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้เป็นระยะ3 
กล่าวโดยสรุป ข้อมูลในปัจจุบันพบรายงานการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำได้ร้อยละ 14 จากข้อมูลของประเทศจีน แต่ไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเกิดจากการไปรับเชื้อจากผู้ป่วยคนอื่น เกิดจากภูมิคุ้มกันเกิดขึ้นได้ต่ำ ผู้ป่วยมีอาการไม่รุนแรงจึงกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันได้ไม่สูง หรือภูมิคุ้มกันลดลงเมื่อเวลาผ่านไป โดยรายงานการติดเชื้อซ้ำพบในผู้สูงอายุ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ และมีโรคประจำตัวหลายชนิด ดังนั้น มาตรการที่สำคัญในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้แก่ การรักษาระยะห่างทางสังคม (social distancing) พบปะกันแบบห่างๆ การล้างมือบ่อยๆ ด้วยสบู่และน้ำ หากไม่สะดวกก็ใช้แอลกอฮอล์เจลล้างมือ การไม่นำมือมาสัมผัสบริเวณใบหน้า ดวงตา ปาก จมูก และ การใส่หน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ยังคงมีความสำคัญในการป้องกันการติดเชื้อ 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. Ota, M. Will we see protection or reinfection in COVID-19?. Nat Rev Immunol. 2020;20:351. https://doi.org/10.1038/s41577-020-0316-3.
  2. Liu ZL, Huiguo KL. Analysis of the causes of "relapse" of patients with new coronavirus pneumonia after discharge and treatment strategies. Chinese Journal of Tuberculosis and Respiratory Diseases, 2020,43: Online pre-publishing. DOI: 10.3760/cma.j.cn112147-20200229-00219.
  3. Kellam P, Barclay W. The dynamics of humoral immune responses following SARS-CoV-2 infection and the potential for reinfection. [published online ahead of print, 2020 May 20]. J Gen Virol. 2020;10.1099/jgv.0.001439. doi:10.1099/jgv.0.001439.
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาคุมกำเนิดชนิดฉีด 3 วินาทีที่แล้ว
โรคไลม์ (Lyme disease) 10 วินาทีที่แล้ว
ไอ ..... ใช้ยาอะไรดี 14 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คำเตือน บทความ/ข้อมูล/สื่อ ในรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยมหิดล มีจุดประสงค์เพื่อเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชนและสังคม โดยไม่อนุญาตให้นำไปใช้ในเชิงพาณิชย์หรือประกอบการทำใดๆ อันผิดกฎหมาย หากหน่วยงานใดมีความประสงค์ใช้สื่อทุกรูปแบบของมหาวิทยาลัยมหิดลเพื่อเผยแพร่ในนามของหน่วยงาน ขอให้ติดต่อขออนุญาตมาที่ สถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (ploypann.chi@mahidol.edu , kulwadee.kit@mahidol.edu) หากมีข้อสงสัยประการใดโปรดสอบถามที่โทร. 02 849 6056 - 7

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้