การลดสารตกค้างในผักและผลไม้
ศาสตราจารย์ ดร. ภญ. ลีณา สุนทรสุข ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
42,372 ครั้ง เมื่อ 1 ช.ม.ที่แล้ว | |
2019-03-17 |
ปัจจุบันประชาชนมีความตื่นตัวเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น โดยหันมาออกกำลังกายและรับประทานอาหารสุขภาพที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย อย่างไรก็ตามปัญหาสารตกค้างในผักและผลไม้ยังเป็นภัยใกล้ตัวที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะสารที่รู้จักกันในนามของยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้า สารทั้งสองประเภทนี้จัดเป็นสารเคมีกำจัดศัตรูพืชซึ่งเป็นสารที่มีการใช้ในภาคเกษตรกรรมเพื่อกำจัดสิ่งมีชีวิตอื่นที่เป็นอันตรายหรือก่อความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร เช่น แมลง วัชพืช หนู สัตว์แทะ หอยและปู เป็นต้น นอกจากยาฆ่าแมลงและยาฆ่าหญ้าแล้วยังมีสารเคมีอีกหลายชนิดที่ถูกนำมาใช้เพื่อกำจัดศัตรูพืช โดยสามารถแบ่งสารเคมีเหล่านี้ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ต้องการควบคุมหรือกำจัด ดังแสดงในตารางที่ 1
ภาพจาก : https://www.rentokil.com/blog/wp-content/uploads/2016/06/9-risks-to-food-safety-for-supermarkets.png
สารเคมีข้างต้นนอกจากจะมีประโยชน์ต่อทางเกษตรกรรมแล้วในอีกแง่มุมหนึ่งก็จัดเป็นสารเคมีอันตรายที่มีผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชนทั้งเกษตรกรและผู้บริโภค หากสัมผัส สูดดม หรือรับประทานสารเหล่านี้เข้าสู่ร่างกาย โดยสารบางชนิดก่อให้เกิดพิษเฉียบพลันและพิษเรื้อรัง พิษเฉียบพลันที่พบบ่อย ได้แก่ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อระบบทางเดินหายใจ ระบบทางเดินอาหาร ระบบประสาทและกล้ามเนื้อ เป็นต้น ส่วนพิษเรื้อรัง ได้แก่ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรม ก่อมะเร็ง และก่อให้เกิดความพิการแก่ทารก เป็นต้น ผลกระทบเหล่านี้นำไปสู่การยกเลิกการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชบางชนิดในหลายประเทศทั่วโลก เช่น การยกเลิกการใช้พาราควอตในประเทศในสหภาพยุโรป กัมพูชา จีน คูเวต ลาว เกาหลีใต้ ศรัลังกา ซีเรีย สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเวียดนาม เป็นต้น สำหรับในประเทศไทยมีความพยายามที่จะยกเลิกการใช้พาราควอต ไกลโฟเซต และคลอร์ไพริฟอส โดยมีมาตรการลดการใช้และมาตรการทดแทน ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี นับจากวันที่มีมติจากที่ประชุมคณะกรรมการวัตถุอันตรายเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561เนื่องจากสารดังกล่าวเป็นสารเคมีอันตรายสะสมที่ก่อให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคไต โรคมะเร็ง โรคตับ รวมทั้งส่งผลต่อความผิดปกติเกี่ยวกับต่อมไร้ท่อ และพัฒนาการทางสมองของเด็ก เป็นต้น 2,3
การป้องกันตนเองเพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการบริโภคผลิตผลทางการเกษตรจึงเป็นแนวทางที่ประชาชนสามารถทำได้เพื่อลดปริมาณสารเคมีตกค้าง ซึ่งสามารถทำได้โดยการล้างผัก ผลไม้ ให้สะอาดก่อนนำไปรับประทานหรือประกอบอาหารด้วยวิธีการต่างๆ ดังแสดงในตารางที่ 2
![]() |
ทำความรู้จักกับอินูลิน (Inulin) และประโยชน์ของอินูลินต่อสุขภาพ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
เอดส์และการใช้ถุงยางอนามัย 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาแก้วิงเวียน ระวัง! อย่าใช้พร่ำเพรื่อ 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
น้ำมันมะพร้าว กับ การลดน้ำหนัก 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
เพราะอากาศเปลี่ยนแปลง...อารมณ์จึงแปรปรวน (Seasonal Affective Disorder; SAD) 2 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาห้าราก : ตำรับยาสมุนไพรแก้ไข้ 3 นาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคกระเพาะ...เหตุจากยา 3 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาเขียว ยาไทยใช้ได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก… 3 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ชาเขียว ( Green Tea )... ดื่มอย่างไรให้ได้ประโยชน์ 3 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาทาสเตียรอยด์สำหรับโรคผิวหนัง 3 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome