ลูกตัวเหลือง เรื่องไม่เล็กของเด็กเปลี่ยนสี
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.คณิสส์ เสงี่ยมสุนทร ภาควิชาชีวเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
168,405 ครั้ง เมื่อ 1 วันที่แล้ว | |
2017-03-31 |
ความสุขและความปลาบปลื้มใจในชีวิตของคุณพ่อคุณแม่คือการได้ยลโฉมลูกน้อยครั้งแรกในชีวิตและพบว่าร่างกายของลูกน้อยสมบูรณ์แข็งแรงไม่พบความผิดปกติใด แต่หลังจากนั้นสองสามวันถัดมาคุณพ่อคุณแม่มือใหม่หรือแม้แต่มืออาชีพหลายคนอาจพบภาวะตัวเหลืองในลูกน้อยและเกิดความวิตกกังวลอย่างมาก แม้ว่าภาวะตัวเหลืองในทารกอาจมิใช่เรื่องใหม่ไกลตัวอีกต่อไป เนื่องจากเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและมีนักวิชาการหลายท่านอธิบายไว้ แต่ผู้เขียนขอเลือกภาวะนี้มาอธิบายซ้ำอีกครั้งในภาษาที่เข้าใจง่าย เพื่อเป็นประโยชน์ให้กับแฟนานุแฟนของ “คลังความรู้สู่ประชาชน” คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลครับ
ภาพจาก : http://images.parents.mdpcdn.com/sites/
parents.com/files/styles/width_300/public/images/p_iStock_000005962860.jpg
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดคืออะไร ?
ภาวะตัวเหลือง เกิดจากมีสารสีเหลืองที่เรียกว่า “บิลิรูบิน” ในเลือดสูงกว่าปกติ บิลิรูบินนี้เกิดจากการสลายตัวของเม็ดเลือดแดง ซึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลาในร่างกายของคนปกติ บิลิรูบินในเลือดจะผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงที่ตับให้อยู่ในรูปที่ละลายน้ำมากขึ้นและถูกกำจัดออกจากร่างกายทางปัสสาวะและอุจจาระ
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดมีกี่ประเภท อะไรบ้าง ?
ภาวะตัวเหลือง เป็นปัญหาสำคัญเนื่องจากพบได้มากถึงร้อยละ 50 ของทารกแรกคลอดและอาจจะพบมากขึ้นเมื่อทารกคลอดก่อนกำหนด นอกจากนั้นแล้วภาวะตัวเหลืองในทารกยังแบ่งเป็น 2 ชนิดหลักได้ดังนี้
ภาวะตัวเหลืองส่งผลร้ายต่อทารกอย่างไร ?
หากภาวะตัวเหลืองในทารกยังคงดำเนินต่อไปเนื่องจากระดับของบิลิรูบินในเลือดสูงมาก บิลิรูบินจะเข้าไปสะสมอยู่ในเนื้อเยื่อสมองและก่อให้เกิดความผิดปกติทางระบบประสาท เรียกว่า เคอร์นิกเทอรัส (kernicterus) ถ้าหากเกิดขึ้นเฉียบพลัน ทารกจะมีอาการซึม ดูดนมน้อยลง ตัวอ่อนปวกเปียก หรือ อาจเกิดอาการเกร็งหลังแอ่น ชัก มีอาการไข้ และอาจร้องไห้เสียงแหลม หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ในระยะเวลา 6-12 เดือนต่อมา ทารกจะมีการเคลื่อนไหวผิดปกติของร่างกายและแขนขา การได้ยินและการเคลื่อนไหวของลูกตาผิดปกติ พัฒนาการล่าช้า ระดับสติปัญญาลดลง ถ้าอาการเหล่านี้เกิดขึ้นในทารกแล้วจะไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้แม้ว่าจะลดระดับของบิลิรูบินจนเข้าสู่ภาวะปกติ
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดวินิจฉัยได้อย่างไร ?
เนื่องจากภาวะตัวเหลืองส่งผลร้ายต่อทารกหลายประการ คุณพ่อคุณแม่สามารถทำการตรวจสอบทารกเบื้องต้นได้โดยปฏิบัติตามขั้นตอนสองวิธีข้างต้น ดังนี้
ภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดรักษาได้อย่างไร ?
แม้ว่าภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดจะพบได้บ่อยและอาจส่งผลเสียต่อพัฒนาการทางสมองของทารก แต่ภาวะนี้สามารถรักษาให้หายได้ด้วยการลดระดับของบิลิรูบินในเลือดด้วยวิธีมาตรฐานที่นิยมใช้ดังนี้
คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ควรดูแลลูกน้อยที่มีภาวะตัวเหลืองอย่างไร ?
![]() |
การล้างไซนัสด้วยตนเอง...ปลอดภัยหรือไม่? 1 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
PM 2.5 และมลพิษทางอากาศ ปัจจัยในการก่อให้เกิดโรคจอประสาทตาเสื่อมตามวัย (AMD) 2 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาฆ่าเชื้อกับการตั้งครรภ์และให้นมบุตร 20 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคอุจจาระร่วงจากเชื้อ อีโคไล (E. coli) 31 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยาแก้ปวดข้อ ข้ออักเสบ-กลุ่มเอ็นเสด (NSAIDs) 35 วินาทีที่แล้ว |
![]() |
ยี่โถ...มีพิษจริงหรือ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
โรคงูสวัดในผู้สูงอายุ : แนวทางรักษาและการดูแล 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
การรักษาแผลเป็นโดยการใช้สารสกัดจากหัวหอม 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
สเต็มเซลล์ (Stem Cell); เซลล์ต้นกำเนิด ตอนที่ 2: รู้จักเซลล์ต้นกำเนิดไอพีเอส ? 1 นาทีที่แล้ว |
![]() |
ดอกคาโมมายล์ 1 นาทีที่แล้ว |
![]() ![]() |
|
ที่เกี่ยวข้อง
หน่วยงานภายในคณะฯ
HTML5 Bootstrap Font Awesome