Loading…

เบญจกูล – อาหารเสริมแผนไทยสำหรับฤดูสมุฏฐาน

เบญจกูล – อาหารเสริมแผนไทยสำหรับฤดูสมุฏฐาน

รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. อ้อมบุญ วัลลิสุต ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

26,830 ครั้ง เมื่อ 4 ช.ม.ที่แล้ว
2016-10-07


ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยมีแนวคิดการดูแลสุขภาพแบบองค์รวมซึ่งพัฒนาบนพื้นฐานของอายุรเวทของอินเดีย จะเห็นได้จากศัพท์แพทย์เป็นภาษาบาลี สันสกฤต โดยที่มองว่าระบบการทำงานของร่างกายนั้น มี 3 ระบบใหญ่ คือ ระบบวาตะ ปิตตะ และ เสมหะหรือคัพภะ หรือไตรโดชา (Tri Dosha) โดยระบบวาตะเกี่ยวข้องกับการขับเคลื่อนภายในร่างกาย รวมถึงระบบไหลเวียนโลหิต ระบบประสาท ระบบการเคลื่อนขึ้นหรือลงภายในร่างกาย ระบบหายใจ เป็นต้น ระบบปิตตะ เกี่ยวข้องกับระบบการย่อยอาหาร กระบวนการแยกสลาย (catabolism) ระบบการควบคุมอุณหภูมิของร่างกาย ความเสื่อมชรา เป็นต้น ระบบเสมหะ เกี่ยวข้องกับระบบหล่อลื่น ระบบเอนไซม์ ระบบภูมิคุ้มกัน กระบวนการสร้าง (anabolism) เป็นต้น
 
ร่างกายประกอบด้วยธาตุรูป 4 ชนิด คือ ปถวีธาตุ 20 ประการ อาโปธาตุ 12 ประการ วาโยธาตุ 6 ประการ และเตโชธาตุ 4 ประการ ทั้งหมดรวม 42 ประการ ถูกจัดรวมเป็นระบบมหาภูตรูป ย่อรวมเหลือกองละ 3 เพื่อประโยชน์ในการตั้งตำรับยาบำรุงรักษาร่างกายดังแสดงในตารางที่ 1
 
ทฤษฎีการแพทย์แผนไทยได้คำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่อาจส่งผลกระทบต่อระบบการทำงานของร่างกายในส่วนของมหาภูตรูป คือการเปลี่ยนของสภาวะแวดล้อมอันเนื่องมาจากฤดูกาล ร่างกายต้องปรับเปลี่ยนการทำงานให้สอดคล้องเหมาะสม ไม่เช่นนั้นอาจเกิดการเสียสมดุลและนำมาซึ่งความไม่สบาย ซึ่งแบ่งออกได้เป็น 3 สถานะ คือกำเริบ หย่อน และ พิการ ในการปรับสมดุลให้ร่างกายสามารถทำงานเป็นปรกติแข็งแรงอยู่เสมอ มีพิกัดเบญจกูลประกอบด้วยสมุนไพรประจำธาตุทั้ง 4 และอากาศธาตุ ดังในตารางที่ 2
 
แพทย์ไทยได้กำหนดส่วนผสมของสมุนไพรเพื่อปรับสมดุลมหาภูตรูปทั้ง 3 กองของธาตุสมุฏฐานทั้ง 4 ไว้แล้ว ดังแสดงในตารางที่ 3-6
 
อนึ่ง การนับเดือนตามทฤษฎีการแพทย์แผนไทยเป็นการนับตามจันทรคติอาศัยข้างขึ้นข้างแรมในการนับเดือน มีศัพท์ที่สัมพันธ์กับจักราศี มีเดือนแรกเรียกว่าเดือนอ้าย คือเดือนธันวาคม เริ่มนับการขึ้นต้นเดือนที่แรม 1 ค่ำ ไปจนถึงขึ้น 15 ค่ำในเดือน ถัดไปดังในตารางที่ 7
 
 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. พระคัมภีร์สมุฏฐานวินิจฉัย ใน แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 สอบทานถูกต้องตามต้นฉบับเดิม พ.ศ. 2466-2475 โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง จงเจริญ เลขที่ 253 ถนนบำรุงเมือง พระนคร 2505, 26-28.
  2. พระคัมภีร์สรรพคุณ ใน แพทย์ศาสตร์สงเคราะห์ เล่ม 2 สอบทานถูกต้องตามต้นฉบับเดิม พ.ศ. 2466-2475 โรงพิมพ์เลี่ยงเซียง จงเจริญ เลขที่ 253 ถนนบำรุงเมือง พระนคร 2505, 331-333, 380-382.

บทความที่ถูกอ่านล่าสุด

กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย 1 วินาทีที่แล้ว
เมอร์ส (MERS-CoV) : ไวรัสมรณะ 14 วินาทีที่แล้ว
ซูโดเอฟีดรีน (pseudoephedrine) พระเอกหรือผู้ร้าย? 1 นาทีที่แล้ว
บรรจุภัณฑ์บ่งชี้ร่องรอยการแกะ (Tamper-Evident Packaging): ตอนที่ 5 1 นาทีที่แล้ว
โรคเกาต์กับเกาต์เทียม ต่างกันอย่างไร 1 นาทีที่แล้ว
โรคหลอดเลือดสมอง (Stroke) กับกรดโฟลิก .. คุณประโยชน์ที่ไม่ควรมองข้าม 1 นาทีที่แล้ว
ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหนังและเส้นผม 1 นาทีที่แล้ว
เมื่อสูงวัย...ร่างกายเปลี่ยน...แล้วผลการรักษาของยาล่ะ...เปลี่ยนด้วยไหม 1 นาทีที่แล้ว
ผิวแพ้ง่ายและผื่นแพ้ผิวหนังกับการดูแล 2 นาทีที่แล้ว
ไอโอดีน, เบตาดีน ป้องกันสารกัมมันตรังสีได้จริงหรือ 2 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา