เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


เคล็ดลับการซื้อยาให้ปลอดภัย


อาจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 25,562 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 16/06/2556
อ่านล่าสุด 2 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

สมัยนี้คนเราเป็นห่วงเรื่องความปลอดภัยกันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นความปลอดภัยทางด้านกายภาพ ด้านจิตใจ และด้านทรัพย์สิน เราจึงต้องระมัดระวังในเรื่องต่างๆ แทบทุกเรื่อง ด้านทรัพย์สินนั้นเราสร้างความปลอดภัยโดยการอยู่ในถิ่นที่อยู่ที่ปลอดภัย มีสิ่งแวดล้อมทางกายภาพที่ดี ส่วนด้านจิตใจเราประคับประคองใจด้วยการปฏิบัติธรรมตามคติความเชื่อทางศาสนาต่างๆ ด้าน และสำหรับด้านร่างกาย เรามีการใส่ใจดูแลสุขภาพที่ดีโดยการหาอาหารเสริมต่างๆ มาบำรุงร่างกาย มีการออกกำลังกายในรูปแบบต่างๆหลากหลาย 
บทความนี้จะนำเสนอเคล็ดลับในการเข้าร้านยาให้ปลอดภัย ท่านอาจจะสงสัยว่า “การเข้าร้านยามีอะไรไม่ปลอดภัย” แน่นอนถ้าเข้าร้านยาที่ไม่มีเภสัชกรประจำอาจจะมีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยมากกว่า ถึงแม้ว่าเข้าร้านยาที่มีเภสัชกรประจำก็อาจจะมีความไม่ปลอดภัยได้บ้าง ดังนั้นท่านจึงควรทราบเคล็ดลับความปลอดภัยในการเข้าร้านยา โดยใช้หลักการ “ถามหาเภสัชกรและซื้อยาที่ถูก 5 ประการ” เคล็ดลับนี้เป็นสิ่งที่ง่าย และปฏิบัติได้เองเพื่อคุณ และคนที่คุณรัก 
เมื่อเข้ารับบริการที่ร้านยา ท่านต้องได้รับการสอบถามและได้รับคำแนะนำในประเด็นเหล่านี้ 
ถูกคน ท่านต้องได้รับการซักถามว่า ยาที่ซื้อนั้น “ท่านใช้เอง หรือซื้อให้คนอื่น” ดังนั้นถ้าท่านจะซื้อยาให้คนอื่นใช้ หรือ คนอื่นฝากมาซื้อยา ท่านควรต้องสอบถามอาการคนที่ฝากท่านซื้อยาให้ละเอียดว่ามีอาการอะไรบ้าง และถ้าท่านจะใช้ยาเองท่านต้องบอกเล่าอาการที่ท่านเจ็บป่วยให้เภสัชกรฟังอย่างละเอียด และอย่ารำคาญเมื่อเภสัชกรซักถามท่านหลายคำถาม นั่นแสดงให้เห็นว่าเขากำลังปฏิบัติหน้าที่อย่างถูกต้องและเหมาะสม 
ถูกโรค เภสัชกรต้องสอบถามท่านเกี่ยวกับอาการที่ไม่สบายอย่างละเอียด เรียกว่าสัมภาษณ์ตั้งแต่หัวจรดเท้า (ถ้าท่านเป็นหลายโรคตั้งแต่หัวจรดเท้า) นอกจากนี้ท่านต้องได้รับการสอบถามเกี่ยวกับโรคที่ท่านเป็นอยู่ก่อน หรือโรคเรื้อรังที่ท่านต้องใช้ยาเป็นประจำเช่น โรคความดัน โรคเบาหวาน หรือ โรคหัวใจ เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อป้องกันปฏิกิริยาต่อกันระหว่างยาที่เภสัชกรจะสั่งจ่ายให้ท่านกับยาที่ท่านใช้อยู่เป็นประจำ และเภสัชกรต้องสอบถามท่านว่า “เคยแพ้ยาอะไรบ้างหรือไม่” เพื่อป้องกันอันตรายจากการแพ้ยา เพราะยาบางขนิดอาการแพ้จะมากขึ้นมื่อใช้ยานั้นซ้ำ บางชนิดเป็นอันตรายถึงชีวิต 
ถูกขนาด ในขั้นตอนนี้เภสัชกรต้องแนะนำ ชื่อยาที่ท่านได้รับ และขนาดยาที่ท่านได้รับ หรือถ้าท่านต้องการซื้อยาที่ซื้อใช้เป็นประจำควรต้องแจ้งเภสัชกรเกี่ยวกับขนาดยาที่ท่านใช้อยู่เพื่อความถูกต้องเหมาะสมของยาที่ใช้ 
ถูกวิธี ท่านต้องได้รับการชี้แจงเกี่ยวกับช่องทางที่ท่านจะรับยานั้นเข้าร่างกายว่า ยาที่ท่านได้รับเป็น ยากิน ยาอม ยาดม ยาทา ยาพ่น หรือ ยาเหน็บ เพราะการให้ยาถูกคน ถูกโรค ถูกขนาด แต่ผิดวิธีใช้ ท่านจะไม่ได้รับประโยชน์จากการใช้ยาแต่จะได้รับอันตรายจากการใช้ยานั้นแทน 
ถูกเวลา เภสัชกรต้องแจ้งท่านว่าจะใช้ยานั้นเวลาไหน ก่อนหรือหลังอาหาร ก่อนนอน หรือ ใช้เวลาปวด เพราะเวลาที่ใช้ยาต่างกันอาจได้ผลจากยาไม่เท่ากัน ดังนั้นควรใช้ยาตามเวลาที่เภสัชกรแนะนำเพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด ยาที่รับประทานก่อนอาหาร ควรรับประทานในช่วงที่ท้องว่าง ยังไม่ได้รับประทานอาหาร ซึ่งก็คือก่อนรับประทานอาหารอย่างน้อย ๓๐ นาที ยาหลังอาหาร ควรรับประทานหลังอาหารทันที อาจรับประทานพร้อมอาหารหรือก่อนรับประทานอาหารคำแรกก็ได้ เพราะไม่ว่าจะกรณีใด ยาจะเข้าไปอยู่ในกระเพาะอาหารพร้อมกับอาหารที่รับประทานเหมือนๆ กัน ยาที่ควรรับประทานหลังอาหารเพื่อ หลีกเลี่ยงอันตรายจากอาการข้างเคียงของยา เช่นยาแก้ปวดกล้ามเนื้อและกระดูก ไม่ควรรับประทานขณะท้องว่างเพราะจะเกิดอาการเป็นแผลในกระเพาะอาหาร 
ที่สำคัญซองยาที่ท่านได้รับจะต้องระบุรายอะไรเกี่ยวกับตัวยา วิธีใช้ ขนาดที่ใช้ จำนวนที่ใช้ เวลาที่ใช้ และข้อควรระวังอย่างละเอียด และที่สำคัญคือต้องมีชื่อของคนที่จะใช้ยานั้นระบุไว้อย่างชัดเจนเพื่อป้องกันการใช้ยาผิดคน 
ข้อคิดสำคัญเมื่อมียาเหลือหลังจากที่อาการทุเลาแล้ว ไม่ควรนำยาที่ท่านใข้เหลือไปให้คนอื่นใช้ เพราะยาที่ท่านใช้ได้ผลดีอาจจะเป็นโทษต่อคนที่มีอาการคล้ายๆ กันก็ได้ และที่สำคัญยานั้นอาจจะเสื่อมสภาพเนื่องจากการเก็บรักษาที่ไม่เหมาะสม ดังนั้นการให้คนอื่นใช้ยาที่ท่านใช้เหลือจะเป็นความหวังดีที่จะกลายเป็นบาปโดยไม่ตั้งใจก็ได้ 
ดังนั้นอย่าลืมจะเข้าร้านยาทุกครั้ง ต้องจดจำไว้ว่า “ ถามหาเภสัชกรและซื้อยาที่ถูก 5 ประการ”

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://www.prema.or.th/patient.php?CId=1&Id=27&menu= (สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2556)
  2. http://www.pharmacy.mahidol.ac.th/thai/knowledgeinfo.php?id=83 (สืบค้นเมื่อ 9 มีนาคม 2556)


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ไอ ..... ใช้ยาอะไรดี 10 วินาทีที่แล้ว
49 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้