เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


ภาควิชาเภสัชกรรมจัดฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ป่วยในประเทศไทยเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ครั้งที่ 2

อ่านแล้ว 400 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 30 มีนาคม 2567  

เมื่อวันเสาร์ที่ 30 มีนาคม 2567 เวลา 09.00 - 16.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชกรรม จัดโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพของกลุ่มผู้ป่วยในประเทศไทยเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ครั้งที่ 2 โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ และ ประธานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MUHTA) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง ร่วมเป็นวิทยากร ณ ห้องประชุม 606 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

โครงการฝึกอบรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก บริษัท โรช ไทยแลนด์ จำกัด (Roche) โดยมีผู้ให้ความสนใจจากหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนเข้าร่วมการฝึกอบรมกว่า 30 คน ซึ่งจัดขึ้นโดยมีเป้าหมายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพของผู้ป่วยและกลุ่มผู้ป่วยให้มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มโอกาสและประสิทธิภาพในการเข้าร่วมและมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวในระบบสุขภาพของประเทศไทย ผ่านกิจกรรมการบรรยายและฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการจำนวน 3 หัวข้อ ประกอบด้วย 1) หัวข้อ “ประเด็นที่ใช้ในการพิจารณาสิทธิประโยชน์” บรรยายโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง 2) หัวข้อ “การประเมินความคุ้มค่าและภาระงบประมาณ” บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว และ 3) หัวข้อ “การให้คะแนนตามเกณฑ์และการสืบค้นข้อมูล” บรรยายโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์

การประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ หรือ Health Technology Assessment (HTA) คือ การวิเคราะห์อย่างเป็นระบบเพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลหรือผลวิจัย เพื่อการเลือกใช้เทคโนโลยีทางสุขภาพได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม กลุ่มผู้ป่วยซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยตรงในระบบสุขภาพส่วนมากยังขาดความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ ทำให้ไม่สามารถเข้าร่วมในกระบวนการพิจารณาชุดสิทธิประโยชน์ได้ โครงการฝึกอบรมนี้จึงเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาศักยภาพของผู้ป่วยและเพิ่มโอกาสในการมีส่วนร่วมในกระบวนการดังกล่าวในระบบสุขภาพของประเทศไทยต่อไป

นอกจากนี้ กิจกรรมฝึกอบรมดังกล่าวยังตอบสนองพันธกิจของคณะฯ ในการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และ เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MUHTA) ของมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/study-graduate-master.php

ข่าวที่เกี่ยวข้อง https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/activities/3816





Photo Gallery



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยี่โถ...มีพิษจริงหรือ 10 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2025
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้