Loading…

งานการศึกษาฯ จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์เภสัชศาสตร์ ครั้งที่ 1

593 ครั้ง   18 มกราคม 2566

เมื่อวันพุธที่ 18 มกราคม 2566 เวลา 13.15 - 15.45 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยงานการศึกษาเภสัชศาสตรบัณฑิต จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ การพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์เภสัชศาสตร์ ครั้งที่ 1 เรื่อง “การตัดเกรดชนิดต่าง ๆ การออกข้อสอบแบบ MCQs การทวนสอบแบบ Transformative Learning” โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ ณ ห้องบรรยาย 206 อาคารราชรัตน์ โดยมีบุคลากรสายวิชาการให้ความสนใจเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

ในการประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ มีผู้ทรงคุณวุฒิร่วมให้เกียรติเป็นวิทยากรหลายท่าน นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา ได้ร่วมเป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “การทำ Reflection and Feedback” รวมทั้ง คณะฯ ยังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกมาร่วมเป็นวิทยากรในการประชุมครั้งนี้ด้วย ได้แก่ 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นพ.ดนัย วังสตุรค จากคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ "หลักการตัดเกรด และการตัดเกรดวิธีต่างๆ" และ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.สมชาย สุริยะไกร จากคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติบรรยายในหัวข้อ “การสอบแบบ MCQs การประเมินผลการสอบ และการทวนสอบ”

การประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนสำหรับอาจารย์เภสัชศาสตร์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการสอนของบุคลากรสายวิชาการ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของนักศึกษา อีกทั้งยังส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เทคนิคและประสบการณ์ร่วมกันระหว่างคณาจารย์ของคณะฯ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในกระบวนการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการผลิตบัณฑิตตามที่คณะฯ ได้ตั้งปณิธานไว้ 

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา