เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

เหตุการณ์สำคัญในเภสัชมหิดล


หลักสูตร MU-HTA เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 10th HTAsiaLink Conference 2022

อ่านแล้ว 739 ครั้ง   
ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2565  
เมื่อวันพุธที่ 30 พฤศจิกายน 2565 เวลา 09.00 น. คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (Health Technology Assessment: MU-HTA) ของมหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ฯ และ ประธานหลักสูตร MU-HTA พร้อมด้วย คณาจารย์และนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชศาสตร์สังคม เศรษฐศาสตร์และการบริหาร นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาทร ริ้วไพบูลย์ เข้าร่วมการประชุมวิชาการนานาชาติ The 10th HTAsiaLink Conference 2022 ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก “The Role of HTA in the New Normal: Driving the Post COVID Health System through Evidence-informed Decisions” ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 2 ธันวาคม 2565 โดยโครงการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ (HITAP) ซึ่งเป็นองค์กรวิจัยกึ่งอิสระ ภายใต้สำนักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ณ โรงแรมรอยัลคลิฟบีช พัทยา จ.ชลบุรี การประชุมวิชาการนานาชาติ The 10th HTAsiaLink Conference 2022 ถูกจัดขึ้นเป็นเวลา 3 วัน โดยมี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการมูลนิธิเพื่อการประเมินเทคโนโลยีและนโยบายด้านสุขภาพ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าว สำหรับกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การบรรยายทางวิชาการในหัวข้อต่างๆ ในสาขาที่เกี่ยวข้องจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาการ และนักวิจัยทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ โดยแบ่งเป็นช่วง Pre-conference Session จำนวน 9 หัวข้อ และช่วง Plenary Session จำนวน 3 ช่วง ได้แก่ 1) Plenary 1: Reimagining the Post COVID-19 Health System and HTA 2) Plenary 2: Accelerating the Impact of Real-World Evidence in Global HTA Community: The past, the present, and the future และ 3) Plenary Session 3: Searching for the Holy Grail Solution for Our Health Systems: Are Disruptive Technologies the Answer? นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการนำเสนอผลงานวิจัยทั้งแบบปากเปล่า (Oral Presentation) และแบบโปสเตอร์ (Poster Session) รวมไปถึงกิจกรรมสร้างเครือข่ายทางวิชาการ (Networking Event) ระหว่างผู้เข้าร่วมการประชุมจากหลากหลายประเทศทั่วโลกอีกด้วย ทั้งนี้ การประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าว ยังตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน




Photo Gallery



บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


โรคไลม์ (Lyme disease) 6 วินาทีที่แล้ว
สัตว์เลี้ยงกับยา 13 วินาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้