อ่านแล้ว 1,182 ครั้ง
ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564
เมื่อวันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. บุคลากรคณะเภสัชศาสตร์เข้าร่วมงานมหกรรมคุณภาพ Mahidol Quality Fair ประจำปี 2564 ซึ่งจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 โดยกองพัฒนาคุณภาพ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยในปี 2564 นี้ งานมหกรรมคุณภาพจัดภายใต้หัวข้อ’Mahidol Culture: M-A-H-I-D-O-L” ในรูปแบบออนไลน์ผ่านระบบ Cisco Webex Events โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดให้เป็นพื้นที่ที่ทำให้เกิดความคิดริเริ่มพัฒนาด้านต่างๆ การแลกเปลี่ยนเรียนรู้แนวปฏิบัติที่ดี อีกทั้งเป็นพื้นที่แห่งความภาคภูมิใจสำหรับผู้ได้รับรางวัลและผู้นำเสนอผลงาน และสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้เข้าร่วมงานทุกท่านเพื่อสร้างสรรค์ผลงานที่มีคุณภาพ พัฒนาตน พัฒนางานนำไปสู่สิ่งที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่องให้กับมหาวิทยาลัยต่อไป
กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย พิธีเปิดมหกรรมคุณภาพและมอบรางวัล Team Good Practice Award, Innovative Teaching Award, Public Policy Advocacy Award โดย ศาสตราจารย์ นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล กิจกรรม Poster Round Session บน Mahidol University Digital KM Masterclass การบรรยายพิเศษ “Mahidol Culture” โดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร นายกสภามหาวิทยาลัยมหิดล การบรรยายกลุ่มผลงาน Team Good Practice Award/ Innovative Teaching Award/ Public Policy Advocacy Award/ Storytelling/ Oral presentation และการบรรยาย “Organizational Culture: หัวใจความสำเร็จขององค์กร” โดยคุณอภิรัตน์ หวานชะเอม Chief Digital Officer: SCG Cement Building Materials Co., Ltd. ปิดท้ายด้วยการประกาศผลการพิจารณาผลงาน และมอบรางวัล โดยอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล
ทั้งนี้ มีผลงานของบุคลากรสายสนับสนุนคณะเภสัชศาสตร์ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการ จำนวน 8 ผลงาน ดังต่อไปนี้
1. การประยุกต์ใช้ online spreadsheet เพื่อพัฒนาระบบติดตามการจัดทำ MOU ในระดับนานาชาติ โดยคุณอัมพร สงคศิริ
2. ผลการสำรวจระดับความเครียดของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีการศึกษา 2563-2564 โดยคุณคมสันต์ เรืองคง
3. การพัฒนาระบบการบันทึกของเสียสารเคมีอันตรายจากห้องปฏิบัติการ โดยคุณอุบลวรรณ บุญเปล่ง
4. การจัดระบบครุภัณฑ์ภาควิชาจุลชีววิทยาด้วย Qr Code โดยคุณนันทวรรณ จินากุล
5. ระบบบันทึกและตรวจสอบข้อมูลหน่วยกิตการศึกษาต่อเนื่อง โดยคุณอมรรัตน์ ใจละม่อม
6. การศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความผูกพันของบุคลากรคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคุณชญานุตม์ นิรมร
7. การศึกษาผลการดำเนินการในหมวด 3 ลูกค้า ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ คณะเภสัชศาสตร์ หาวิทยาลัยมหิดล โดยคุณปุณรดา มงคลชู
8. การศึกษาผลการดำเนินการในหมวด 1 การนำองค์กร ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคุณอัครพล ยีมะลี
นอกจากนี้ การประชุมนานาชาติดังกล่าวยังมีส่วนช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (Quality Education)
Photo Gallery