Loading…

เภสัชมหิดลรับการตรวจประเมินมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL

1820 ครั้ง   21 มิถุนายน 2564
เมื่อวันจันทร์ที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล รับการตรวจประเมินผลการดำเนินการโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ. ปิยนุช โรจน์สง่า ประธานคณะกรรมการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางเคมี กล่าวชี้แจงเกี่ยวกับภาพรวมของห้องปฏิบัติการภายในคณะฯ ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex Meetings ซึ่งจัดโดยคณะกรรมการความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการทางเคมี หลังจากนั้น คณะกรรมการตรวจประเมิน ซึ่งนำโดย ผศ.ดร.โศรยา พรสุวรรณ และ ดร.คุณาภรณ์ หอมยก พร้อมคณะกรรมการ ได้เข้าตรวจประเมินห้องปฏิบัติการภายในคณะฯ ที่เข้าร่วมตรวจประเมินทั้งสิ้น 11 ห้องปฏิบัติการ เป็นระยะเวลา 2 วัน ระหว่างวันที่ 21-22 มิถุนายน พ.ศ. 2564 โดยคณะกรรมการตรวจประเมินและบุคลากรทุกคนได้ปฏิบัติตามมาตรการการเว้นระยะห่าง (Social Distancing) และสวมหน้ากากอนามัยตามนโยบายมหาวิทยาลัยมหิดล ทั้งนี้ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหน่วยงานด้านการศึกษาและวิจัย โดยมีภาควิชาที่มีการดำเนินงานวิจัยในห้องปฏิบัติการทั้งสิ้น 10 ภาควิชา โดยเฉพาะการดำเนินงานด้านการวิจัยทางเคมีที่มีความเสี่ยงค่อนข้างสูง ซึ่งหากไม่มีการบริหารจัดการด้านความปลอดภัยที่ดีอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานด้านความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการของคณะฯ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสอดคล้องตามนโยบายของสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ คณะฯ ได้ตระหนักและเห็นความสำคัญในเรื่องนี้เป็นอย่างยิ่ง จึงผลักดันให้มีการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในการดำเนินงาน โดยเข้ารับการตรวจประเมินผลการดำเนินการโครงการยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการตามมาตรฐาน ESPReL จากคณะผู้ตรวจประมินจากศูนย์บริหารความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาวะแวดล้อมในการทำงาน (COSHEM) มหาวิทยาลัยมหิดล

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา