Loading…

พิธีพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล

1573 ครั้ง   07 เมษายน 2564
เมื่อวันพุธที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 15.30-16.45 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ และทรงพระราชทานพระพิธีธรรมสวดพระอภิธรรมศพ เป็นเวลา 3 คืน ให้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล อดีตคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล (วาระการดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 17 กันยายน 2559 – 16 กันยายน 2563) ซึ่งถึงแก่อนิจกรรมที่โรงพยาบาลรามาธิบดี เมื่อเช้าวันที่ 6 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา สิริอายุรวม 61 ปี 9 เดือน 18 วัน โดยพระราชทานให้ผู้แทนพระองค์อัญเชิญน้ำหลวงอาบศพ โดยมี นายประทีป จุฬาวัฒนทล เป็นประธานในพิธีรดน้ำหลวงอาบศพในครั้งนี้ ณ ศาลา 5 สีหโสภณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร บรรยากาศภายในงานนั้น ได้มีบุคคลสำคัญทางวงการเภสัชกรรม วงการการศึกษา คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา ศิษย์เก่า ญาติสนิทมิตรสหาย และแขกผู้มีเกียรติมาร่วมแสดงความเสียใจกับครอบครัวและไว้อาลัยเป็นจำนวนมาก ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงคุณงามความดี คุณประโยชน์ และผลงานที่ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล ได้มุ่งมั่นตั้งใจบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมมาตลอดอาชีพการทำงานกว่า 38 ปี ทั้งนี้ กำหนดการสวดพระอภิธรรมจัดขึ้นระหว่างวันที่ 7-11 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 18.30-19.00 น. โดยสำนักพระราชวังเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมในวันที่ 7-9 เมษายน พ.ศ. 2564 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรมในวันที่ 10-11 เมษายน พ.ศ. 2564 มหาวิทยาลัยมหิดล กำหนดเป็นเจ้าภาพสวดพระอภิธรรม ในวันที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2564 นอกจากนี้ ยังได้รับเกียรติจากองค์กรและกลุ่มบุคคลต่างๆ เข้าเป็นเจ้าภาพร่วมอีกจำนวนมาก สำหรับพิธีพระราชเพลิงศพกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 16.00 น. ณ วัดเทพศิรินทราวาสราชวรวิหาร และเพื่อให้เป็นไปตามประสงค์ของ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล และครอบครัว เงินบริจาคที่ได้รับจะนำไปสมทบทุนเพื่อสร้างหอพระพุทธมหามงคลเภสัช ณ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เพื่อเป็นการกุศล รวมทั้งเพื่อรำลึกถึงคุณูปการและคุณงามความดีของ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.สุวัฒนา จุฬาวัฒนทล ตลอดไป

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา