Loading…

คณะเภสัชศาสตร์ประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

2965 ครั้ง   26 ธันวาคม 2556
รองศาสตราจารย์ ดร. จุฑามณี สุทธิสีสังข์ คณบดี พร้อมด้วย รองคณบดี ผู้ช่วยคณบดี หัวหน้างาน หัวหน้าหน่วย บุคลากรและนักศึกษาคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมประกอบพิธีพุทธาภิเษกพระพุทธรูปประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2556 ตั้งแต่เวลา 09.29 น. เป็นพิธีบวงสรวงเทพยดาและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในคณะ เวลา 13.00 น. เป็นพิธีเจริญพระพุทธมนต์ และ เวลา 14.39 - 16.29 น. เป็นพิธีพุทธาภิเษก พิธีเบิกเนตร สมโภช และประดิษฐานพระพุทธรูป ณ ห้องประชุม 105 อาคารราชรัตน์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เนื่องในโอกาสครบรอบ 45 ปี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มูลนิธิคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และ ชมรมศิษย์เก่าเภสัชมหิดล ร่วมกับ คณาจารย์ บุคลากร นักศึกษา และผู้สนใจทั่วไป ได้สมทบทุนจัดสร้าง ’พระพุทธรูปประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการฉลอง 45 ปีแห่งการก่อตั้งคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล และเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนและการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพสำหรับนักศึกษา เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจและเป็นสิริมงคลแก่คณาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่าและบุคลากร พุทธลักษณะและความหมายของพระพุทธรูปประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล - จัดสร้างในพุทธลักษณะพระพุทธสิขีทศพลญาณที่ 1 ซึ่งเป็นพระพุทธเจ้าองค์แรกสุดในสังสารวัฏ - หน้าตัก 30 นิ้ว เท่ากับ บารมี 30 ทัศของพระพุทธเจ้า - พระพุทธรูปประทับบนโพธิบัลลังก์ซึ่งรองรับด้วยบัวคว่ำบัวหงาย 8 ดอก หมายถึง บารมีแผ่นไปทั้ง 8 ทิศ - พระหัตถ์ขวาถือช่อสมอ โดยมี 3 ชั้น หมายถึง ศีล สมาธิ ปัญญา ชั้นที่ 1 และ 2 มีใบชั้นละ 4 ใบ หมายถึง อริยสัจ 4 มีดอกชั้นละ 4 ดอก หมายถึง มหาสติปัฏฐาน 4 และมีผลสมอชั้นละ 4 ผล ชั้นบนสุดจะมีผลสมอ 1 ผล รวมทั้งหมดจะมีผลสมอ 9 ผล อันหมายถึง โลกุตรธรรใ 9 - พระหัตถ์ซ้ายประคองบาตรที่มีสมุนไพร 7 ชนิดที่ถูกกำหนดในพระวินัยปิฎกว่าสามารถใช้เป็นยารักษาโรคให้กับภิกษุ ได้แก่ ดีปลี สมอ มะขามป้อม ขมิ้น ขิง รวงผึ้ง และท่อนอ้อย (น้ำอ้อย) เลข 7 หมายถึง โพชฌังคปริต อันเป็นองค์ธรรมแห่งการตรัสรู้

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
Copyright © 2021 - 2025
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล
การใช้และการจัดการคุกกี้
เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา