เพื่อพัฒนาเว็บไซต์ให้ดียิ่งขึ้น โปรดสละเวลา 1 นาที ในการตอบแบบสอบถามจากเรา Click !!

บทความเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน


ผิวสวยและสุขภาพแข็งแรงด้วยวิตามิน


รองศาสตราจารย์ .ดร.พิมลพรรณ พิทยานุกุล ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

อ่านแล้ว 142,765 ครั้ง  
ตั้งแต่วันที่ 22/09/2556
อ่านล่าสุด 1 ช.ม.ที่แล้ว

Scan เพื่ออ่านบนมือถือของคุณ
 

วิตามิน คืออะไร? 
วิตามินคือสารอินทรีย์ที่ร่างกายต้องการในปริมาณเพียงเล็กน้อยมากในแต่ละวันเพื่อการเจริญเติบโต และการสร้างพลังงานของทุกเซลในร่างกาย จำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพที่ดี เราจำเป็นต้องได้รับวิตามินไม่ว่าจะจากอาหารที่รับประทานหรือจากการได้รับอาหารเสริม วิตามินเป็นสิ่งที่ร่างกายเราไม่มีและไม่ได้สร้างขึ้นเอง มีวิตามินทั้งหมด 13 ชนิด ที่ร่างกายควรจะได้รับ วิตามินไม่ใช่อาหาร และไม่สามารถใช่ทดแทนอาหารได้ วิตามินไม่มีแคลอรี่ และไม่สามารถให้พลังงานโดยตรงกับร่างกาย แต่เราก็ยังจำเป็นต้องได้รับวิตามินเพื่อไปทำหน้าที่เปลี่ยนอาหารให้เป็นพลังงาน 
วิตามิน แบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มตามคุณสมบัติการละลายในตัวทำละลาย

  1. วิตามินชนิดที่ละลายได้ในน้ำมันหรือไขมัน วิตามินกลุ่มนี้ เช่น วิตามินเอ อี ดี และเค วิตามินเหล่านี้จะสามารถถูกกักเก็บไว้ตามกล้ามเนื้อหรือไขมันตามส่วนต่างๆของร่างกายได้ภายหลังจากที่เรารับประทานเข้าไป ข้อดีคือ เราไม่จำเป็นต้องรับประทานวิตามินกลุ่มนี้ทุกวันเพราะมีสะสมอยู่ตามกล้ามเนื้อ แต่หากเรารับประทานวิตามินเหล่านี้มากเกินไป จะเกิดการสะสมมากเกินไปในส่วนต่างๆ ทำให้เป็นพิษจากวิตามินได้เช่นกัน
  2. วิตามินชนิดที่ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินซี และบี วิตามินกลุ่มนี้ไม่สามารถถูกสะสมหรือกักเก็บในร่างกายได้นานเนื่องจากคุณสมบัติที่ได้ละลายได้ดีในน้ำ จึงถูกกำจัดออกทางปัสสวะหรือเหงื่อ ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องได้รับวิตามินกลุ่มนี้ทุกวันจากการรับประทานอาหารหรืออาหารเสริม หากร่างกายได้รับวิตามินชนิดที่ละลายน้ำมากเกินไป ส่วนเกินของวิตามินจะถูกขับออกโดยไม่ทำให้เกิดพิษหรือปัญหาต่อร่างกาย


วิตามินสำหรับต้านอนุมูลอิสสระ 
ขบวนการหรือปฏิกิริยาลูกโซ่ที่เกิดขึ้นในร่างกายทุกขณะหรือตลอดเวลาไม่ว่าเราจะตื่นอยู่หรือกำลังนอนหลับคือ ปฏิกิริยาที่เรียกว่า ‘ออกซิเดชั่น’ เป็นปฏิกิริยาทางเคมีที่เกิดขึ้นและก่อให้เกิดอนุมูลอิสสระสะสมภายในเซลและอัวยะวะในทุกส่วนของร่างกาย อนุมูลอิสสระเหล่านี้ทำลายเซลทุกชนิด และนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเป็นต้นเหตุที่ทำให้เกิดความเหี่ยวย่นของผิวหนังและความเสื่อมของทุกเซลจนทำให้เซลตายได้ในที่สุด 
สารต้านอนุมูลอิสสระ 
คือสารที่สามารถป้องกันหรือยับยั้งปฏิกิริยาลูกโซ่ของปฏิกิริยาออกซิเดชั่นได้ สารต้านอนุมูลอิสสระสามารถทำหน้าที่ปกป้องเซลจากการทำลายของอนุมูลอิสสระ อันอาจเกิดขึ้นจากปัจจัยภายนอกร่างกายด้วย เช่น จากรังสีดวงอาทิตย์ หรือฝุ่นละอองจากสิ่งแวดล้อม เป็นต้น 
ร่างกายคนเราก็สามารถสร้างสารต้านอนุมูลอิสสระได้เอง เพื่อปกป้องร่างกายจากอนุมูลอิสสระที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์พบว่าเนื่องจากอนุมูลอิสสระในร่างกายเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง จากสภาวะความเครียดและความกดดันของร่างกายในโลกปัจจุบัน ทำให้สารต้านอนุมูลอิสสระที่ผลิตขึ้นเองภายในร่างกายไม่เพียงพอในการปกป้องเซลทุกชนิดในร่างกายได้ ดังเห็นได้จากการเจ็บป่วยที่ไม่รู้สาเหตุมากมาย เราจึงจำเป็นต้องเพิ่มหรือเสริมให้ร่างกาย 
ประโยชน์ของสารต้านอนุมูลอิสสระ 

  1. ทำลายอนุมูลอิสสระที่เกิดขึ้นในร่างกาย เป็นการปกป้องเนื้อเยื่อที่แข็งแรงของร่างกายในทุกส่วน
  2. สารต้านอนุมูลอิสสระสามารถเสริมความเข็มแข็งของกล้ามเนื้อและโครงสร้างของเส้นเลือดทั้งหลายในร่างกาย ซึ่งเป็นการเสริมความแข็งแรงของระบบเลือดและหัวใจโดยทางอ้อม
  3. สารต้านอนุมูลอิสสระนับเป็นยาอายุวัฒนะที่ช่วยชะลอความแก่ของผิวพรรณและร่างกาย และยังมีรายงานสนับสนุนว่าสามารถป้องกันการเกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วย

วิตามินสำหรับต้านอนุมูลอิสสระที่ให้ผลโดดเด่น ได้แก่ วิตามินเอ ซี อี และแร่ซีเลเนี่ยม 
วิตามินต้านอนุมูลอิสสระจากผลไม้ เช่น ลูกพรุนทั้งสดและแห้ง องุ่นทั้งสดและแห้ง ผลไม้ชนิดเบอรี่ทั้งหลาย เช่น สตอเบอรี่ ผลฝรั่งและส้มจะอุดมมากด้วยวิตามินซี ฯลฯ 
วิตามินต้านอนุมูลอิสสระจากผัก เช่น ผักบุ้ง บล็อกเคอรี่ ผักขม ฯลฯ 
พืชสมุนไพรที่อุดมด้วยวิตามินต้านอนุมูลอิสสระ เช่น ขิง ข่า ขมิ้น กระเทียม ฯลฯ 
ชาเขียว อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสสระ ซึ่งมีการศึกษาอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าจะเป็นชาขาว ชาดำ ชาเขียว นักวิทยาศาสตร์พบว่าสามารถต้านหรือป้องกันการเกิดโรคต่างๆได้ พร้อมๆกับการช่วยชะลออายุผิวอีกด้วยเมื่อนำมาผสมผสานในเครื่องสำอาง ผิวสวยด้วยวิตามินได้อย่างไร? 
วิตามินซี อี บี6 บี12 โฟลิคแอซิด และวิตามินเอ จัดเป็นวิตามินที่พบในอาหารทั่วไปและในมัลติวิตามินที่จำหน่ายในร้านขายยาและอาหารเสริม หน้าที่หลักของวิตามินเหล่านี้คือ การไปทำลายอนุมูลอิสสระที่เกิดขึ้น ป้องกันเซลผิวหนังไม่ให้ถูกทำลายหรือเหี่ยวย่นก่อนวัย ซึ่งเชื่อกันว่าจะช่วยชะลอความแก่ของร่างกายส่วนต่างๆได้ไม่เฉพาะแต่ผิวหนังเท่านั้น 
ทางการแพทย์เชื่อว่าสารต้านอนุมูลอิสสระที่ดีที่สุดควรจะได้จากผักสดและผลไม้สดเท่านั้น อย่างไรก็ตามแหล่งของอาหารเสริมที่สามารถให้สารต้านอนุมูลอิสสระ ก็น่าจะเป็นทางเลือกที่สองที่สามามารถทดแทนได้เช่นกันสำหรับผู้ที่รับประทานผักสดและผลไม้สดน้อยเกินไป 
การคัดเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีองค์ประกอบของสารต้านอนุมูลอิสสระ ที่สำคัญ เช่น วิตามินซี เอ บี6 บี12 และสำคัญที่สุดที่ต้องไม่ขาดคือวิตามินอี นักวิทยาศาสตร์พบว่าวิตามินอีมีบทบาทสำคัญที่สุดในการช่วยชะลออายุของผิวหนัง ช่วยลดริ้วรอยเหี่ยวย่นได้อย่างดีเยี่ยม ช่วยป้องกันการเกิดโรคทั่วไปหลายๆชนิด วิตามินอี สามารถใช้ในรูปแบบของครีมทาผิว และในรูปแบบของแคปซูลขนาด 400 มิลลิกรัมสำหรับรับประทาน เพื่อให้ผิวหนังชุ่มชื้น มีความยืดหยุ่นและปรับสภาพผิวหนังให้เนียมนุ่มได้อย่างรวดเร็ว มีประวัติการใช้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 
ส่วนวิตามินซี แม้ว่าจะมีประโยชน์มากมาย เช่น ให้ความชุ่มชื้นผิวหนัง กระตุ้นการสร้างคอลลาเจนในชั้นผิวหนัง ช่วยชะลอและยืดอายุผิวหนัง แต่เนื่องจากคุณสมบัติของวิตามินซีที่ละลายในน้ำได้ดีมาก ทำให้คุณสมบัติการเป็นสารต้านอนุมูลอิสสระสลายไปได้อย่างรวดเร็วเมื่อละลายในน้ำหรือเมื่อถูกความชื้น ทำให้วิตามินซีที่ผสมผสานในครีมบำรุงผิวทั้งหลายไม่เกิดประโยชน์ต่อผิวหนังเลย นอกจากนั้นยังพบว่าวิตามินซีหรือวิตามินที่ละลายได้ดีในน้ำ ไม่สามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ ดังนั้นประโยชน์จากวิตามินซีในครีมบำรุงผิวจึงไม่เกิดขึ้น อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์และอุตสาหกรรมเครื่องสำอางได้พยายามคิดค้นและปรับปรุงโครงสร้างของวิตามินซีให้มีคุณสมบัติละลายน้ำได้น้อยลงแต่ละลายได้ดีในน้ำมันเพิ่มขึ้น เพื่อเพิ่มความคงตัวและการดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังของวิตามินซีในเนื้อครีมบำรุงผิว

 

แหล่งอ้างอิง/ที่มา
  1. http://www.vitaminsdiary.com/
เปิดอ่านด้วย Google Doc Viewer ดาวน์โหลดบทความ (pdf) ดูบทความอื่นๆ

บทความที่เนื้อหาเกี่ยวข้องกับบทความนี้


บทความที่ถูกอ่านล่าสุด


ยาแก้ไอ ... มีกี่แบบ ?? 38 วินาทีที่แล้ว
ยาไอซ์ (Ice) 1 นาทีที่แล้ว

อ่านบทความทั้งหมด



ข้อจำกัดด้านลิขสิทธิ์บทความ:
บทความในหน้าที่ปรากฎนี้สามารถนำไปทำซ้ำเพื่อเผยแพร่ในเว็บไซต์ หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ โดยไม่มีวัตถุประสงค์ในเชิงพาณิชย์ได้ ทั้งนี้การนำไปทำซ้ำนั้นยังคงต้องปรากฎชื่อผู้แต่งบทความ และห้ามตัดต่อหรือเรียบเรียงเนื้อหาในบทความนี้ใหม่โดยเด็ดขาด และกรณีที่ท่านได้นำบทความนี้ไปใช้ในเว็บเพจของท่าน ให้สร้าง Hyperlink เพื่อสร้าง link อ้างอิงบทความนี้มายังหน้านี้ด้วย

-

 ปรับขนาดอักษร 

+

คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

447 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400

ดูเบอร์ติดต่อหน่วยงานต่างๆ | ดูข้อมูลการเดินทางและแผนที่

เว็บไซต์นี้ออกแบบและพัฒนาโดย งานเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อการเรียนการสอน คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
Copyright © 2013-2024
 

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้

เราใช้เทคโนโลยีคุกกี้เพื่อช่วยให้เว็บไซต์ทำงานได้อย่างถูกต้อง การเปิดให้ใช้คุณสมบัติทางโซเชียลมีเดีย และเพื่อวิเคราะห์การเข้าเว็บไซต์ของเรา การใช้งานเว็บไซต์ต่อถือว่าคุณยอมรับการใช้งานคุกกี้