ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกมีคุณสมบัติต้านการอักเสบดังนั้นการใช้ยาให้ได้ประสิทธิผลจึงต้องใช้กับภาวะที่ผิวหนังที่มีการแบ่งตัวมากกว่าปกติ, ผิวหนังอักเสบ และความผิดปกติของผิวหนังที่มีความเกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ซึ่งยาสเตียรอยด์จะช่วยบรรเทาอาการคันและปวดแสบปวดร้อนได้ ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกสามารถรักษาโรคผิวหนังได้หลายชนิด ยาแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันตามความแรงของตัวยา การรักษาโรคผิวหนังให้ได้ผลขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโรคที่ถูกต้อง, การใช้รูปแบบยาสเตียรอยด์ให้เหมาะสมกับโรคหรือผิวหนังบริเวณที่เป็น, ความแรงของยา, ความถี่ในการใช้ยา, ระยะเวลาของการรักษาและการเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยา โรคผิวหนังที่มีข้อมูลการศึกษาที่สนับสนุนการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกได้แก่ psoriasis, vitiligo, eczema, atopic dermatitis, phimosis, acute radiation dermatitis และ lichen sclerosus สำหรับการใช้ในโรคผิวหนังชนิด melasma, chronic idiopathic urticaria, and alopecia areata พบว่าข้อมูลการศึกษาทางคลินิกของการใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกยังมีจำกัด ความแรงของยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกแบ่งได้ตามคุณสมบัติของการทำให้หลอดเลือดบริเวณผิวหนังหดตัว (blanching effect) โดยแบ่งตามความแรงได้เป็น 7 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่มีความแรงสูงสุด (ultrahigh potency) และกลุ่มที่ 7 มีความแรงน้อยสุด (low potency) โดยกลุ่มที่ 1-3 จัดว่าเป็นยาในกลุ่ม High-potency topical corticosteroids ยาในกลุ่มนี้ได้แก่ augmented betamethasone dipropionate 0.05% และ clobetasol propionate 0.05% ซึ่งใช้ในโรคผิวหนังดังต่อไปนี้ alopecia areata, resistant atopic dermatitis, discoid lupus, hyperkeratotic eczema, lichen planus, lichen sclerosus of the skin, lichen simplex chronicus, nummular eczema, severe poison ivy, psoriasis และ severe hand eczema ไม่ควรใช้ยาสเตียรอยด์กลุ่มนี้ทาบริเวณหน้า, ขาหนีบหรือบริเวณรักแร้ ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกที่มีความแรงระดับปานกลางหรือ Medium-potency topical steroids (กลุ่ม 4-5) ตัวอย่างยากลุ่มนี้ได้แก่ betamethasone valerate, desoximetasone 0.05%, และ fluocinolone acetonide 0.025% ซึ่งมักใช้ในโรคผิวหนังดังต่อไปนี้ severe anal inflammation, asteatotic eczema, atopic dermatitis, lichen sclerosus of the vulva, nummular eczema, scabies (หลังจากรักษาด้วยการยาฆ่าหิด เหา), seborrheic dermatitis, severe dermatitis, severe intertrigo (ระยะสั้น) และ stasis dermatitis สำหรับยาในกลุ่ม Low-potency topical steroids (กลุ่ม 6-7) ได้แก่ fluocinolone 0.01%; hydrocortisone butyrate 0.1% และ hydrocortisone 1%, 2.5% สามารถใช้ในโรคผิวหนังบริเวณที่บอบบาง เช่น ใบหน้า เปลือกตาได้ นอกจากนั้นยังสามารถใช้ได้ในระยะเวลานาน, ทาได้เป็นบริเวณกว้างและใช้ในเด็กได้ โดยยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกส่วนใหญ่จะทาวันละ1-2 ครั้งต่อวัน โดยยาทาในกลุ่ม Ultrahigh-potency steroids ไม่ควรใช้ติดต่อกันเกิน 3 สัปดาห์ หากใช้เป็นระยะเวลานานกว่านั้นควรค่อยๆลดขนาดการใช้ลงและควรเว้นระยะการใช้ยาอย่างน้อย 1 สัปดาห์ก่อนกลับมาใช้ต่อ ผลข้างเคียงของยาได้แก่ การเกิดจ้ำเลือดง่าย, ผิวหนังบางลง, เกิดรอยแตกบริเวณผิวหนังและเกิดแผล เป็นต้น นอกจากนั้นยังอาจเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อบริเวณผิวหนังได้อีกด้วย นอกจากนั้นการใช้ high- and ultra-high potency corticosteroids ตัวยาอาจถูกดูดซึมเข้ากระแสโลหิตทำให้เกิด systemic side effects เช่น Hypothalamic-pituitary-adrenal suppression, ต้อหิน, ระดับน้ำตาลในเลือดสูง, ความดันโลหิตสูง
ข้อแนะนำพิเศษในการใช้ยาสเตียรอยด์ทาภายนอกมีดังนี้ (level of evidence C)
• ผู้ป่วยที่เป็นโรคผิวหนังชนิด Psoriasis, vitiligo, lichen sclerosus, atopic dermatitis, eczema และ acute radiation dermatitis สามารถใช้ยาสเตียรอยด์ชนิดทาภายนอกได้
• ไม่ควรใช้ ultrahigh-potency topical steroids ติดต่อกันนานเกิน 3 สัปดาห์
• ไม่ควรใช้ low-potency to high-potency topical steroids ติดต่อกันนานเกิน 3 เดือน
• เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อรา (tinea infection) ไม่ควรจ่ายยาสเตียรอยด์ร่วมกับยาต้านเชื้อรา