ดนตรีและการพัฒนาสมอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยิ่งรัก (บุญดำ) ช่วยบุญ ภาควิชาสรีรวิทยา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล |
|
13,710 ครั้ง เมื่อ 16 นาทีที่แล้ว | |
2023-07-12 |
ดนตรีเป็นศาสตร์และศิลป์อย่างหนึ่งที่ใช้เสียงในการถ่ายทอดอารมณ์และความรู้สึกไปยังผู้ฟัง โดยเสียงที่เกิดขึ้นนั้นอาจมาจากเสียงที่เราเปล่งออกมาให้เกิดเป็นท่วงทำนองเพลงหรือเกิดจากเครื่องบรรเลงที่ทำให้เกิดเสียงสูงต่ำประกอบกันเป็นเสียงเพลง การเล่นดนตรีนอกจากจะทำให้ร่างกายและจิตใจของเรารู้สึกผ่อนคลายแล้วนั้น ยังส่งผลต่อการทำงานของสมองในทุกช่วงวัยอีกด้วย
ในขณะที่เราเล่นดนตรีนั้นจะต้องอาศัยการทำงานของสมองหลายส่วน ทั้งส่วนที่ควบคุมการได้ยิน การมองเห็น การเคลื่อนไหว และสมองที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการคิดขั้นสูง ยกตัวอย่างเช่น การเล่นเปียโนในวงดนตรี ผู้เล่นต้องทำการเคลื่อนไหวนิ้วมือทั้งสองข้างลงบนแป้นเปียโนให้ประสานสัมพันธ์กันตามโน้ตเพลง รวมถึงต้องถ่ายทอดอารมณ์ไปยังผู้เล่นดนตรีอื่นและผู้ฟัง ซึ่งการแสดงออกดังกล่าวจะส่งผลต่อการทำงานของสมอง ดังนี้
1. การเล่นดนตรีช่วยให้สมองเกิดการปรับเปลี่ยนโครงสร้างตลอดเวลา (neuroplasticity)
ดังคำกล่าวของ Hebbian ที่ว่า “neuron that fire together, wire together – เซลล์ประสาทที่ทำงานร่วมกัน จะมีความแข็งแกร่งเพิ่มขึ้นไปด้วยกัน” ซึ่งในการฝึกฝนเล่นดนตรีซ้ำ ๆ เป็นการเพิ่มความแข็งแกร่งของการเชื่อมต่อวงจรประสาทในสมองอย่างหนึ่ง โดยเราต้องอาศัยการทำงานของสมองหลายส่วน ได้แก่
จากที่กล่าวมาทั้งหมดจะเห็นได้ว่าการเล่นดนตรีส่งผลให้ให้สมองเกิด neuroplasticity ในทุกส่วน
2. การเล่นดนตรีช่วยเพิ่มความสามารถในการรู้คิด (cognitive ability)
ในการเล่นดนตรีนั้นเราจะต้องจดจำตัวโน้ต มีใจจดจ่อกับดนตรีที่เรากำลังเล่น และมีการสื่ออารมณ์ของเพลงออกไปอย่างเหมาะสม การแสดงออกดังกล่าวเป็นเพิ่มความสามารถของสมองส่วนหน้าสุด (prefrontal cortex) ที่เกี่ยวข้องกับการสร้างความจำขณะทำงาน การจดจ่อกับสิ่งที่กำลังกระทำ การยับยั้งกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม การคิดเชิงตรรกะ การแก้ปัญหาและวิเคราะห์โครงสร้างเพลง เพิ่มความสามารถของสมองส่วนฮิปโปแคมปัส (hippocampus) ในการสร้างความจำระยะยาว ทำให้เราจดจำโน้ตเพลงได้ และเพิ่มความสามารถของสมองส่วนลิมบิค (limbic system) ในการถ่ายทอดอารมณ์ให้เหมาะกับเพลงที่เรากำลังเล่นอยู่ในขณะนั้น จากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว ส่งผลให้งานวิจัยพบว่านักดนตรีจะมีความสามารถของทักษะการรู้คิดที่ดีกว่าคนทั่วไป และในเด็กที่มีการฝึกฝนดนตรีนั้นจะมีความสามารถด้านภาษา และคณิตศาสตร์ที่ดีกว่าเด็กทั่วไป
3. การเล่นดนตรีช่วยพัฒนาทักษะการบริหารจัดการของสมอง (executive function; EF)
ผลการวิจัยพบว่าเด็กที่เล่นดนตรีนั้นจะมีทักษะด้าน EF ที่ดีกว่าเด็กทั่วไป โดยทักษะ EF นั้นเป็นความสามารถของสมองส่วนหน้าสุดที่ใช้ในการบริหารจัดการชีวิต ครอบคลุมถึงการวางแผน ควบคุมอารมณ์และความรู้สึก การแก้ปัญหา ความจำขณะทำงาน และความยืดหยุ่นทางความคิด จากการศึกษาดังกล่าวสามารถสรุปได้ว่า การเล่นดนตรีช่วยในการพัฒนาทักษะ EF ในช่วงต้นของการเจริญเติบโต เนื่องจากขณะที่เราเล่นดนตรีนั้น สมองส่วนหน้าสุดจะต้องทำงานเพื่อใช้ในการจดจำตัวโน้ตที่กำลังเล่นรวมถึงเนื้อเพลงที่เพิ่งเล่นจบไปก่อนหน้า และในช่วงฝึกฝนการเล่นเพลงต่าง ๆ นั้น สมองส่วนหน้าสุดต้องทำงานเพื่อช่วยวิเคราะห์โครงสร้างของเพลง วางแผนการเล่น รวมถึงแก้ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นขณะเล่นดนตรี
ซึ่งนอกจากประโยชน์ต่อสมองทั้ง 3 ข้อข้างต้นแล้วนั้น การเล่นดนตรียังช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะความจำเสื่อม เพิ่มทักษะการเคลื่อนไหวละเอียด (การเคลื่อนไหวของนิ้วมือ) ในผู้ใหญ่ ผู้สูงวัย รวมถึงผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความสามารถด้านการฟังในผู้สูงวัย ส่งผลให้ผู้สูงวัยฟังเสียงและแยกแยะเสียงได้ชัดเจนมากขึ้น และเพิ่มความสามารถในการจดจ่อของผู้สูงวัยได้ดี กล่าวโดยสรุปก็คือ การเล่นดนตรีนั้นก่อให้เกิดประโยชน์ต่อสมองในทุกช่วงวัย และยังช่วยส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีคุณภาพได้อีกด้วย
วิธีปฏิบัติตัวเบื้องต้นเพื่อป้องกันผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 2 วินาทีที่แล้ว | |
ผลิตภัณฑ์สมุนไพรตอนที่ 2: มาตรฐานทางกายภาพของยาเม็ดสมุนไพร 10 วินาทีที่แล้ว | |
บิ๊กอาย อันตรายถึงตาบอด 15 วินาทีที่แล้ว | |
ยาทาภายนอกรักษาโรคเชื้อรา : ยารักษากลากและเกลื้อน 31 วินาทีที่แล้ว | |
กระชายดำกับสมรรถภาพทางเพศชาย 32 วินาทีที่แล้ว | |
ยาแก้ปวดศีรษะไมเกรน Ergotamine ใช้อย่างไรจึงจะปลอดภัย 36 วินาทีที่แล้ว | |
ยาลดไขมันในเลือด : ตอนยาลดไตรกลีเซอไรด์ 40 วินาทีที่แล้ว | |
น้ำมันหอมระเหย...ชีวิตนี้ขาดเธอไม่ได้ 43 วินาทีที่แล้ว | |
อันตรายจากสารเคมีใกล้ตัว 1 นาทีที่แล้ว | |
ผักแปม สมุนไพรปรับสมดุล 1 นาทีที่แล้ว |
|
HTML5 Bootstrap Font Awesome