Loading…

ฐานข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชตอนที่ 1: The International Plant Names Index (IPNI)

ฐานข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชตอนที่ 1: The International Plant Names Index (IPNI)
อาจารย์ ดร.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน ภาควิชาเภสัชพฤกษศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
55,988 ครั้ง เมื่อ 2 ช.ม.ที่แล้ว
2015-05-27

ผู้ที่ต้องใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช เช่น นักวิชาการ นักวิจัย ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องกับพืชสมุนไพร เป็นต้น อาจพบกับปัญหาหลายอย่าง เช่น พืชชนิดเดียวมีชื่อวิทยาศาสตร์มากกว่า 1 ชื่อ หรือชื่อวิทยาศาสตร์เดียวกันแต่สะกดต่างกัน หรือ ชื่อวงศ์ (family) ของพืชหลายๆ ชนิดเปลี่ยนแปลงไป เนื่องจากผลการศึกษาด้านดีเอ็นเอของพืชพบว่าแตกต่างกัน เป็นต้น
เพื่อให้เกิดความกระจ่าง สำหรับนักวิชาการและคนที่เกี่ยวข้องที่ต้องใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช เพื่อสืบค้นข้อมูล หรืออ้างอิงในงานใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับพืช บทความชุด "ฐานข้อมูลชื่อวิทยาศาสตร์ของพืช" จึงได้นำเสนอวิธีการสืบค้นชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชจากฐานข้อมูลที่เชื่อถือ ได้
ชื่อวิทยาศาสตร์มีความสำคัญอย่างมาก เพราะช่วยป้องกันความสับสนอันเนื่องมาจากชื่อพื้นเมืองที่แตกต่างกันตามเชื้อชาติ สำเนียง ภาษา และความเข้าใจของแต่ละคน การตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชต้องอยู่ภายใต้กฎการตั้งชื่อพืชที่มีชื่อเต็มๆ ว่า International Code of Nomenclature for algae, fungi, and plants หรือเรียกสั้นๆ ว่า Melbourne Code แต่การทำความเข้าใจกฎดังกล่าวต้องใช้เวลามากเหมือนข้อกฎหมายที่ประกอบด้วยมาตราต่างๆ จำนวนมาก ทำให้ปัจจุบันมีการจัดสร้างฐานข้อมูลทางอนุกรมวิธานพืชขึ้น เพื่อให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นชื่อวิทย์ฯ ที่ถูกต้องได้อย่างสะดวกรวดเร็ว โดยฐานข้อมูลที่จะแนะนำ ประกอบด้วย The International Plant Names Index (IPNI), The Plant List, และ ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย : เต็ม สมิตินันทน์ สำหรับครั้งนี้ขอแนะนำฐานข้อมูล The International Plant Names Index: (The International Plant Names Index, 2012) หรือเรียกสั้นๆ ว่า ฐานข้อมูล IPNI เป็นอันดับแรก
ฐานข้อมูล IPNI เกิดจากความร่วมมือระหว่าง The Royal Botanic Gardens, Kew ประเทศอังกฤษ, The Harvard University Herbaria ประเทศสหรัฐอเมริกา และ Australian National Herbarium ประเทศออสเตรเลีย โดยคณะทำงานประกอบด้วยนักอนุกรมวิธานพืช ทำหน้าที่ประมวลชื่อวิทยาศาสตร์ของพืชเกือบทุกชนิดที่ถูกสำรวจพบแล้วบนโลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ชื่อสกุล (generic name) คำระบุชนิด (specific epithet) และชื่อผู้ตั้งชื่อพืช (author name) ยกตัวอย่างเช่น "กันภัยมหิดล" มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Afgekia mahidoliae B.L.Burtt & Chermsir. โดย
Afgekia คือ ชื่อสกุล
mahidoliae คือ คำระบุชนิด
B.L.Burtt & Chermsir. คือ ชื่อผู้ตั้งชื่อพืช
ชื่อวิทยาศาสตร์นอกจากเขียนแบบตัวเอน (เฉพาะ 2 ส่วนแรกแล้ว) สามารถเขียนเป็นแบบอื่นได้ เช่น Afgekia mahidoliae B.L.Burtt & Chermsir. (ตัวเข้มเฉพาะ 2 ส่วนแรก) หรือ Afgekiamahidoliae B.L.Burtt & Chermsir. (ขีดเส้นใต้ 2 ส่วนแรก แต่เส้นใต้ต้องแยกกัน) แต่ถ้าไม่อยากเป็นคนเชยตกยุคต้องเขียนแบบแรก (ใช้ตัวเอน) เท่านั้น
ข้อมูลที่ค้นได้จากฐานข้อมูล IPNI ประกอบด้วย 1) ชื่อพืช 2) ผู้ตั้งชื่อพืช และ 3)
แหล่งอ้างอิง/ที่มา
ด้านอนุกรมวิธานพืช (ภาพที่ 2)           ชื่อพืชในฐานข้อมูลที่สืบค้นได้ ประกอบด้วยชื่อวงศ์ (family) ชื่อสกุล (genus) ชื่อชนิด (species) รวมถึงชื่อของลำดับชั้นที่ต่ำกว่าวงศ์ สกุล หรือชนิด โดยฐานข้อมูลจะแสดงผลของชื่อพืชทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง (ภาพที่ 3)           ชื่อผู้ตั้งชื่อพืชเป็นชื่อของนักอนุกรมวิธานที่ตั้งชื่อพืช ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้แบบย่อ และการย่อที่ถูกต้องตามหลักสามารถค้นได้จากฐานข้อมูล IPNI เช่น การย่อชื่อของ Carl Linneaus ซึ่งเป็นนักพฤษศาสตร์ที่มีชื่อเสียงตั้งชื่อพืชเป็นจำนวนมาก ที่ถูกต้องคือ L. ไม่ใช่ Linn. และ Linné           สำหรับ
เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
คลังความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน บทความความรู้สู่ประชาชน

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล