Loading…

เภสัชมหิดลจัดโครงการ Happy Singing ภายใต้โครงการเภสัชมหิดล งานได้ผล คนเป็นสุข 

168 ครั้ง   31 กรกฎาคม 2567

เมื่อวันพุธที่ 31 สิงหาคม 2567 เวลา 13.00 - 16.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยคณะกรรมการนักสร้างสุขของคณะเภสัชศาสตร์ จัดโครงการ Happy Singing (ภายใต้โครงการเภสัชมหิดล งานได้ผล คนเป็นสุข: โครงการต่อเนื่องปีที่ 12) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา เป็นประธานกล่าวเปิดโครงการกิจกรรม ณ ห้อง 206 อาคารราชรัตน์ โดยมีบุคลากรให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการประกวด จำนวน 8 คน และมีบุคลากรสายวิชาการ จำนวน 3 ท่าน ได้แก่ 1) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จิระพรรณ จิตติคุณ ภาควิชาชีวเคมี 2) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปิยนุช โรจน์สง่า ภาควิชาเภสัชเคมี  และ 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล ภาควิชาจุลชีววิทยา ร่วมเป็นกรรมการตัดสินการประกวดร้องเพลงและได้รวบรวมรายชื่อผลรางวัลของผู้เข้าการประกวดโครงการ Happy Singing โดยมีผลสรุปดังนี้

ผู้ได้รับรางวัลสำหรับการประกวดประเภทเพลงลูกทุ่ง-ลูกกรุง

  • ชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวจรรยา จันทร์เจตนาดี
  • รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นายประหยัด สีชมภู
  • รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นายภัทรพิสิฐ ศุภกิจอุดมการณ์
  • Popular Vote ได้แก่ นางสาวจรรยา จันทร์เจตนาดี

ผู้ได้รับรางวัลสำหรับการประกวดประเภทเพลงไทยสากล-สากล

  • ชนะเลิศ ได้แก่ นางสาวปานภัสส์ เกตุรัตน์
  • รองชนะเลิศ อันดับ 1 ได้แก่ นางธนาภา สีเหลือง
  • รองชนะเลิศ อันดับ 2 ได้แก่ นายกิตติกานต์ นาวาพงส์
  • Popular Vote ได้แก่ นายคมสันต์ เรืองคง

โครงการ Happy Singing มีวัตถุประสงค์เพื่อผ่อนคลายความเครียดจากการทำงาน มีเวทีให้บุคลากรที่มีความสามารถพิเศษทางด้านการร้องเพลงได้แสดงออกอย่างเหมาะสม เกิดการชื่นชมระหว่างบุคลากรด้วยกันเอง ทำให้บุคลากรมีขวัญและกำลังใจที่ดี มีความสุขมากขึ้นสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน หัวหน้า และลูกน้องดีขึ้น ตลอดจนช่วยส่งเสริมให้เกิดบรรยากาศของการทำงานอย่างมีความสุข นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) เป้าหมายที่ 3: สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกช่วงวัย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล