Loading…

นักศึกษาเภสัชศาสตร์เข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนในต่างประเทศ ประจำปี 2567 ณ Nihon Pharmaceutical University ประเทศญี่ปุ่น

71 ครั้ง   29 กรกฎาคม 2567

เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2567 คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ส่งนักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 3 ราย เดินทางไปต่างประเทศเพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษา 2024 NPU Summer Program ณ Nihon Pharmaceutical University กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม 2567 ถึงวันที่ 9 สิงหาคม 2567 โดยมีผู้เข้าร่วม ได้แก่ นางสาวบุญญณัฐ สุนทรชื่น นางสาวบุญรักษา ณีศะนนท์ และนางสาวนัทธมน มิตรรัญญา ซึ่งนับเป็นโครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาครั้งแรกสำหรับนักศึกษาของคณะฯ ในการเดินทางไปแลกเปลี่ยนทางวิชาการ ณ Nihon Pharmaceutical University

โครงการแลกเปลี่ยนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการแลกเปลี่ยนทางการศึกษาเภสัชศาสตร์ ส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับระบบสาธารณสุข ระบบสุขภาพ และระบบงานเภสัชกรรม ระหว่างประเทศไทยและประเทศญี่ปุ่น และพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาทางวิชาการและวิชาชีพเภสัชกรรม อีกทั้งยังส่งเสริมให้นักศึกษามีโอกาสในการขยายขอบเขตของความคิดในระดับนานาชาติ พัฒนาศักยภาพของนักศึกษาเพื่อการเป็นบัณฑิตที่มีสมรรถนะในระดับสากล (Globally-competent graduate) และมีความพร้อมสู่การเป็นประชาคมโลก (Global citizen) และการสนับสนุนนโยบายของมหาวิทยาลัยมหิดลในการก้าวเข้าสู่การเป็นมหาวิทยาลัยระดับโลก

นอกจากนี้ โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในเอเชีย มีคุณธรรม และตอบสนองความต้องการของสังคม อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล