Loading…

เภสัชมหิดลเข้าร่วมงาน “แรกพบ สนภท.” ปีที่ 19

140 ครั้ง   13 กรกฎาคม 2567

เมื่อวันเสาร์ที่ 13 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.00 - 17.00 น. ผู้บริหารและคณาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.ลือรัตน์ อนุรัตน์พานิช รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ศาศวัต วิศาลศิริกุล อาจารย์ ดร.ภก.ธงธรรม สุขสวัสดิ์ และนักศึกษาจากสโมสรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เข้าร่วมในกิจกรรม \"แรกพบ สนภท.\" ภายใต้โครงการ \"บ่มเพาะต้นกล้า สร้างแนวความคิดส่งเสริมสุขภาพนิสิตนักศึกษา 20 สถาบัน ปีที่ 19\" ซึ่งจัดโดย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (สนภท.) โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.อรัมษ์ เจษฎาญานเมธา คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน ณ อาคารอาคารกิตติยาคาร มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

โครงการดังกล่าวเป็นกิจกรรมที่นำนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ของคณะเภสัชศาสตร์ทั้ง 20 สถาบันในประเทศไทย มาร่วมทำความรู้จัก และสร้างความสัมพันธ์ภายในวิชาชีพ ผ่านการทำกิจกรรมร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการสร้างความผูกพันและทัศนคติที่ต่อเพื่อนร่วมวิชาชีพ และยังถือเป็นการสร้างเภสัชกรที่มีคุณภาพในอนาคต กิจกรรมภายในงาน ประกอบด้วย การบรรยายเกี่ยวกับวิชาชีพเภสัชกรรม การแสดงผู้นำเชียร์จาก สนภท. การทำกิจกรรมสันทนาการ การแสดงดนตรี และพิธีบายศรีสู่ขวัญ โดยมีตัวแทนคณาจารย์จากหลากหลายสถาบันเข้าร่วมกัน โดยในปี 2567 นี้ มีนักศึกษาเภสัชศาสตร์ พร้อมคณาจารย์จาก 20 สถาบัน เข้าร่วมกิจกรรมกว่า 1,500 คน  สำหรับมหาวิทยาลัยมหิดล มีนักศึกษา คณาจารย์ และศิษย์เก่าเข้าร่วมมากกว่า 100 คน

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังสนับสนุนวิสัยทัศน์ของคณะฯ ในการเป็นสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากล สู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน และสนับสนุนพันธกิจในการสร้างบัณฑิต ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในเอเชีย มีคุณธรรม และตอบสนองความต้องการของสังคม อีกทั้งยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล