Loading…

เภสัชมหิดลจัดฝึกอบรมสำหรับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร (รุ่น 2)

161 ครั้ง   3 กรกฎาคม 2567

เมื่อวันพุธที่ 3 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชวินิจฉัย จัดโครงการฝึกอบรมสำหรับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร (รุ่น 2) ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมการฝึกอบรม โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมออนไลน์ จำนวน 105 คน

โดยในการฝึกอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภายในคณะฯ และ ดร.ภญ.รุจิรา หวังธีระประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มกำหนดมาตรฐาน กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรในการฝึกอบรมดังกล่าว สำหรับเนื้อหาการประชุมครอบคลุม เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและหน้าที่ของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ วิธีการซักประวัติและแนะนำการใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้แก่ผู้บริโภค วิธีตรวจสอบคุณภาพและเก็บรักษาผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ การใช้ผลิตภัณฑ์สมุนไพรให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ

โครงการฝึกอบรมสำหรับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร (รุ่น 2) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ด้านการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน และ เป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล