Loading…

เภสัชมหิดลจัดฝึกอบรมสำหรับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร (รุ่น 2) 

203 ครั้ง   1 กรกฎาคม 2567

เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ภาควิชาเภสัชอุตสาหกรรม ร่วมกับ ภาควิชาเภสัชวินิจฉัย จัดโครงการฝึกอบรมสำหรับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร (รุ่น 2) ผ่านระบบออนไลน์ Cisco Webex โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นประธานกล่าวเปิดกิจกรรมการฝึกอบรม โดยมีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมการฝึกอบรมออนไลน์ จำนวน 112 คน

โดยในการฝึกอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคณาจารย์ภายในคณะฯ และวิทยากรภายนอก ได้แก่ 1) ดร.ภญ.รุจิรา หวังธีระประเสริฐ หัวหน้ากลุ่มกำหนดมาตรฐาน กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา 2) อาจารย์วันทนี เจตธรรมจักร ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์แผนไทย กรมการแพทย์แผนไทยและการแทพย์ทางเลือก และ 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภารดี แสงวัฒนกุล วิทยาลัยแพทย์ศาสตร์นานาชาติจุฬาภรณ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากร สำหรับเนื้อหาการประชุมครอบคลุม เรื่อง กฎหมายเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สมุนไพรและหน้าที่ของผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการ หลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่ดี วิธีควบคุมคุณภาพวัตถุดิบและสารสกัดสมุนไพร วิธีควบคุมคุณภาพผลิตภัณฑ์สมุนไพร การควบคุมคุณภาพด้านจุลชีววิทยาของวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์สมุนไพร การพิสูจน์เอกสารของสมุนไพร  วิธีการเตรียมวัตถุดิบตามหลักการแพทย์แผนไทยและแพทย์แผนจีน

โครงการฝึกอบรมสำหรับผู้มีหน้าที่ปฏิบัติการในสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพร (รุ่น 2) มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกฎหมายและข้อกำหนดต่างๆ ตามพระราชบัญญัติผลิตภัณฑ์สมุนไพร พ.ศ. 2562 และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้และสามารถปฏิบัติหน้าที่ในสถานที่ผลิตผลิตภัณฑ์สมุนไพรตามพระราชบัญญัติดังกล่าวได้อย่างถูกต้อง

นอกจากนี้ การประชุมวิชาการดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ด้านการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน และตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 8: ส่งเสริมการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่และ มีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับทุกคน และ เป้าหมายที่ 9: สร้างโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ที่ครอบคลุมและยั่งยืน และส่งเสริมนวัตกรรม

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล