Loading…

นักศึกษาชั้นปีที่ 6 เภสัชมหิดลเข้ารับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพ ณ Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น

50 ครั้ง   10 มิถุนายน 2567

ระหว่างวันที่ 10 มิถุนายน ถึง 30 สิงหาคม 2567 นักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 6 สาขาวิชาเน้นด้านเภสัชกรรมอุตสาหการ จำนวน 2 รายของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้เดินทางไปเข้าร่วมการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในต่างประเทศ ณ Faculty of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น โดยนักศึกษาทั้ง 2 ราย ประกอบด้วย นางสาวพาณิภัค หวังวรวุฒิ และ นางสาวมณฑิรา มหารักษ์ เป็นผู้ได้รับทุนสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยมหิดล โดย กองวิเทศสัมพันธ์ ภายใต้ \"ทุนสนับสนุนการฝึกงาน ณ ต่างประเทศ สำหรับนักศึกษาของมหาวิทยาลัยมหิดล ประจำปีงบประมาณ 2567\" อีกด้วย

สำหรับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในต่างประเทศ ณ Faculty of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ปีนี้ ได้รับความร่วมมือในการติดต่อประสานงานจาก Assoc. Prof. Dr. Seiichi Sakamoto โดย นางสาวพาณิภัค หวังวรวุฒิ ได้เข้ารับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในห้องปฏิบัติการด้าน Physiology ภายใต้การควบคุมดูแลของ Prof. Dr. Motohiro NISHIDA ในขณะที่ นางสาวมณฑิรา มหารักษ์ ได้เข้ารับการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในห้องปฏิบัติการด้าน Protein Drug Discovery ภายใต้การควบคุมดูแลของ Prof. Dr. Jose CAAVEIRO ทั้งนี้ กิจกรรมการฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในต่างประเทศดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนให้นักศึกษาในระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 6 ได้มีโอกาสในการเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ทางวิชาการและวิชาชีพในระดับนานาชาติ เปิดโลกทัศน์ทางวิชาชีพผ่านกระบวนการศึกษาและฝึกอบรมทางวิชาชีพ ณ มหาวิทยาลัยในต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมศักยภาพทางวิชาการและวิชาชีพเภสัชกรรม ทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษ การเรียนรู้ทางวัฒนธรรม และความเป็นพลเมืองโลกของนักศึกษา ตลอดจนเปิดโลกทัศน์และสร้างความสัมพันธ์อันดีกับนักวิชาการและนักศึกษาในต่างประเทศ

นอกจากนี้ การฝึกปฏิบัติงานวิชาชีพในต่างประเทศดังกล่าวยังสนับสนุนพันธกิจของคณะฯ ในการสร้างบัณฑิตที่มีคุณภาพได้มาตรฐานทัดเทียมกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในเอเชีย มีคุณธรรม และตอบสนองความต้องการของสังคม อีกทั้งยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล