Loading…

เภสัชมหิดลเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 4th ASEAN PharmNET 2024 and the 2024 US-Thai Pharmacy Consortium Conference: The 30th Anniversary Commemoration

363 ครั้ง   12 มิถุนายน 2567

เมื่อวันพุธที่ 12 มิถุนายน 2567 เวลา 08:30-16:30 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ ศูนย์ประสานงานการศึกษาเภสัชศาสตร์แห่งประเทศไทย (ศ.ศ.ภ.ท) เครือข่ายความร่วมมือสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์ในภูมิภาคอาเซียน (ASEAN PharmNET) และ เครือข่ายความร่วมมือการศึกษาเภสัชศาสตร์ ระหว่าง คณะเภสัชศาสตร์ในประเทศไทยและ คณะเภสัชศาสตร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา(US-Thai Pharmacy Consortium) จัดการประชุมวิชาการนานาชาติ The 4th International Conference on Pharmacy Education and Research Network of ASEAN (The 4th ASEAN PharmNET 2024 Conference) in conjunction with the 2024 US-Thai Pharmacy Education Consortium Meeting: 30th Anniversary Commemoration โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.จุฑามณี สุทธิสีสังข์ รักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันพัฒนาสุขภาพอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล และอดีตคณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งเครือข่าย ASEANPharmNET พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล และ Prof. Michael Katz ประธานเครือข่าย US-Thai Pharmacy Consortium กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุมจากนานาประเทศกว่า 630 คน ณ ห้องแกรนด์บอลรูม โรงแรมอีสติน แกรนด์ พญาไท

การประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้หัวข้อหลัก Global Collaboration in Pharmacy Education, Practice & Research: Bridging Borders for Health Innovation ระหว่างวันที่ 12-14 มิถุนายน 2567 โดยมีวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจากทั้ง 3 เครือข่ายให้เกียรติร่วมเป็นวิทยากรบรรยายทางวิชาการด้านเภสัชศาสตร์ศึกษา (Pharmacy Education) และวิทยาการทางเภสัชศาสตร์ (Pharmaceutical Sciences) ในช่วงต่างๆ ประกอบด้วย ช่วง Plenary session, Country Status & Progress Report on Pharmacy Education & Practice และ Keynote speaker session สาขาต่างๆ อาทิ Bridging Boundaries: Optimizing Pharmacy Education for a Globalized Future, Drug Discovery and Development และ Personalized Medicine และยังมี Concurrent session ในลักษณะ Symposium ในสาขาย่อย 8 สาขาอีกด้วย สำหรับเนื้อหาการประชุมครอบคลุม เรื่อง Advancement of Pharmacy Practice: Global View, Fostering collaborative learning through integrated clinical services and pharmacy education, Exploring Metabolic Polymorphism of Antioxidant Phytochemicals in Plants, Nutrigenomics: The Next Frontier in Personalized Nutrition, Structural and Physicochemical Evaluation of Nanomedicine เป็นต้น นอกจากนี้ ในการประชุมวิชาการนานาชาติครั้งนี้ยังมีการนำเสนอผลงานทางวิชาการ/ผลงานวิจัยของผู้เข้าร่วมการประชุมในรูปแบบปากเปล่า (Oral presentation) จำนวน 69 เรื่อง และการนำเสนอในรูปแบบโปสเตอร์ (Poster presentation) จำนวน 247 เรื่องอีกด้วย

การประชุมวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในระดับนานาชาติในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ และวิทยาการความก้าวหน้าทางการศึกษาและการวิจัยในสาขาเภสัชศาสตร์ เภสัชกรรม เภสัชศาสตร์ศึกษาและวิทยาศาสตร์สุขภาพที่เกี่ยวข้อง ผ่านการบรรยายและนําเสนอผลงานทางวิชาการและวิจัยของผู้ทรงคุณวุฒินักวิชาการนักวิจัยเภสัชกรวิชาชีพและนักศึกษาของสถาบันการศึกษาเภสัชศาสตร์จากทั่วโลก อันจะนําไปสู่การเพิ่มศักยภาพทางวิชาการและวิชาชีพและส่งเสริมความเข้มแข็งด้านการวิจัยของคณาจารย์และนักศึกษาของคณะฯ ผ่านกิจกรรมและการสร้างเครือข่ายการปฏิสัมพันธ์ทาง วิชาชีพในระดับนานาชาติ พร้อมทั้งยกระดับเครือข่ายความร่วมมือทางวิชาการวิจัยและวิชาชีพเภสัชกรรมระหว่างภูมิภาคอาเซียนเอเชียและอเมริกาให้เป็นที่ประจักษ์ในเวทีระดับโลก โดยมีคณะฯเป็นศูนย์กลางและมีบทบาทหลักในการเชื่อมประสานความร่วมมือของเครือข่ายวิชาชีพเภสัชกรรมในระดับภูมิภาคสู่ระดับสากล อันจะนำไปสู่การพัฒนาและการถ่ายทอดเทคโนโลยี และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศสมาชิกและตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนพร้อมทั้งร่วมกันพัฒนาการศึกษาทางเภสัชศาสตร์ในระดับสากลต่อไป

นอกจากนี้ การประชุมวิชาการนานาชาติดังกล่าวยังสนับสนุนวิสัยทัศน์ของคณะฯ ในการเป็นสถาบันการศึกษาด้านเภสัชศาสตร์ที่มีมาตรฐานระดับสากลสู่การพัฒนาสังคมที่ยั่งยืน และพันธกิจด้านการผลิตและเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมาตรฐานในระดับประเทศและนานาชาติ และการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน อีกทั้งยังตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

ในโอกาสนี้ คณะฯ ขอขอบคุณผู้สนับสนุนการจัดการประชุม ดังรายนามต่อไปนี้

1. มหาวิทยาลัยมหิดล
2. มูลนิธิเกษม ปังศรีวงศ์
3. บริษัท เบอร์ลินฟาร์มาซูติคอลอินดัสตรี้ จำกัด
4. บริษัท ไบเออร์ไทย จำกัด
5. บริษัท เอ. เมนารินี (ประเทศไทย) จำกัด
6. บริษัท เวอร์วาก ฟาร์มา จีเอ็มบีเอช. แอนด์ โค เคจี
7. สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน)

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล