Loading…

ภาควิชาเภสัชกรรมจัดพิธีปิดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ประจำปี 2567 (รอบการอบรมที่ 2)

245 ครั้ง   29 พฤษภาคม 2567

เมื่อวันพุธที่ 29 พฤษภาคม 2567 เวลา 09.00 – 10.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยภาควิชาเภสัชกรรม จัดพิธีปิดหลักสูตรฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม ประจำปีงบประมาณ 2567 รอบการอบรมที่ 2 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ เป็นประธานในพิธี และมอบประกาศนียบัตรให้แก่เภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรม โดยมีคณาจารย์ประจำภาควิชาเภสัชกรรม ได้แก่ 1) รองศาสตราจารย์ ภก.ธนรัตน์ สรวลเสน่ห์ 2) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.พิชญา ดิลกพัฒนมงคล และ 3) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา เข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ณ ห้อง 606 ชั้น 6 อาคารราชรัตน์

ทั้งนี้ หลักสูตรการฝึกอบรมระยะสั้นการบริบาลทางเภสัชกรรม มีเภสัชกรที่ผ่านการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ จำนวน 6 ท่าน ได้แก่ 
1) ภก.นนทกร สุขจินดาเสถียร  สาขาผู้ป่วยวิกฤต
2) ภญ.นภิสา แก้วจินดา สาขาโรคติดเชื้อเอชไอวี 
3) ภญ.สุกัญญา ธรรมพัฒนากูล สาขาผู้สูงอายุ  
4) ภญ.สรนันท์ พูลทรัพย์  สาขาผู้สูงอายุ  
5) ภญ.ศุภนิธ อุ่นใจ สาขาโรคระบบประสาท 
6) ภญ.ภคินี อื้อศรีชัย สาขาโรคมะเร็งชนิดก้อน

ซึ่งจัดขึ้นตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2567 – 31 พฤษภาคม 2567 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพและยกระดับทักษะทางวิชาชีพเภสัชกรรมของเภสัชกรที่เข้าร่วมการฝึกอบรมในหลักสูตรต่าง ๆ ซึ่งสามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการประเมินและตัดสินใจในการรักษาด้วยยาและติดตามอาการของผู้ป่วยเฉพาะรายได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มพูนทักษะในการให้คำแนะนำผู้ป่วยด้านยาและการเสริมสร้างสุขภาพในสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีเป้าหมายสำคัญ คือ ผู้เข้ารับการฝึกอบรมสามารถนำองค์ความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้ในการดูแลผู้ป่วยทางยาได้อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ สามารถระบุปัญหาระหว่างยา การเกิดปฏิกิริยาระหว่างยา และสามารถป้องกันหรือติดตามดูแลผู้ป่วยได้อย่างเหมาะสม

นอกจากนี้ การฝึกอบรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสาหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 10 คือ ลดความไม่เสมอภาคภายในประเทศและระหว่างประเทศ

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล