Loading…

หลักสูตร MUHTA ร่วมเป็นวิทยากรฝึกอบรม EQ-5D Valuation Study ณ ประเทศไนจีเรีย 

101 ครั้ง   20 พฤษภาคม 2567

ระหว่างวันที่ 20-24 พฤษภาคม 2567 คณาจารย์ประจำหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา สาขาวิชาการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ (MUHTA) นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ และ ประธานหลักสูตร MUHTA พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.มนทรัตม์ ถาวรเจริญทรัพย์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ศิตาพร ยังคง เดินทางไปเยือน National Health Insurance Authority (NHIA) เพื่อร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในโครงการฝึกอบรมผู้สัมภาษณ์ในการศึกษาความคุ้มค่า (Interviewer Training Workshop) หัวข้อ EQ-5D Valuation Study ซึ่งจัดโดย NHIA ณ เมืองอาบูจา สหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย 

นอกจากนี้ ในการเดินทางไปเยือนสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรียครั้งนี้ คณาจารย์ทั้ง 3 ท่านได้มีโอกาสเข้าพบ นายไกรวัฒ ภมรบุตร อุปทูต สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงอาบูจา ซึ่งได้ให้เกียรติเป็นเจ้าภาพเลี้ยงรับรองอาหารกลางวัน และได้ร่วมเจรจาหารือความร่วมมือด้านวิชาการระหว่าง  ฝ่ายไทย (มหาวิทยาลัยมหิดล) และ ฝ่ายไนจีเรีย (สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHIA)) อีกด้วย และยังได้ร่วมเป็นวิทยากรรับเชิญในการบรรยายพิเศษ หัวข้อ HTA Master Class: Priority Setting in Healthcare ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2567 อีกด้วย

โครงการฝึกอบรมผู้สัมภาษณ์ในการศึกษาความคุ้มค่า หัวข้อ EQ-5D Valuation Study จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อฝึกอบรมผู้สัมภาษณ์ในการวิจัย เรื่อง การพัฒนาค่าอรรถประโยชน์โดยใช้แบบประเมินคุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ EQ-5D-5L ซึ่งเป็นเครื่องมือที่สำคัญสำหรับการวิจัยด้านการประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ในประเทศไนจีเรีย ตลอดจนฝึกอบรมและถอดบทเรียนที่เกี่ยวข้องกับบทบาทของการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพ และการจัดลำดับความสำคัญ (Priority Setting) ในการสนับสนุนการพัฒนาชุดสิทธิประโยชน์หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถด้านการประเมินเทคโนโลยีด้านสุขภาพของบุคลากรของ NHIA 

ทั้งนี้ โครงการฝึกอบรมดังกล่าวยังเป็นหนึ่งในโครงการสำคัญภายใต้บันทึกข้อตกลงความเข้าใจ (MoU) ระหว่าง มหาวิทยาลัยมหิดล และ สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (NHIA) ของสหพันธ์สาธารณรัฐไนจีเรีย นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป้าหมายที่ 10 ลดความไม่เสมอภาคภายในและระหว่างประเทศ และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล