Loading…

เภสัชมหิดลให้การต้อนรับผู้แทนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) เข้าเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรม

358 ครั้ง   27 กุมภาพันธ์ 2567

เมื่อวันอังคารที่ 27 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 13.30 - 17.00 น. ผู้บริหารคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล นำโดย รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ และ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม ร่วมให้การต้อนรับผู้แทนจากหน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) แผนงานกลุ่มดิจิทัลแพลตฟอร์ม นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สกุณา เจริญปัญญาศักดิ์ และทีมนักวิจัย ในโอกาสเข้าเยี่ยมติดตามผลการดำเนินงานโครงการวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง “การพัฒนาแพลตฟอร์มการคิดค้นยาที่บูรณาการศาสตร์ด้านปัญญาประดิษฐ์” ณ ห้องประชุม 606 ชั้น 6 อาคารราชรัตน์ 

ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.จตุรงค์ ประเทืองเดชกุล หัวหน้าโครงการฯ ได้นำเสนอความก้าวหน้าของโครงการวิจัยฯ ในภาพรวม หลังจากนั้น เป็นการนำเสนอความก้าวหน้าตามแผนโครงการย่อย โดยผู้นำเสนอจากมหาวิทยาลัยมหิดล ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กิตติศักดิ์ ศรีภา หัวหน้าภาควิชาเภสัชเคมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ณัฏฐินี อนันตโชค หัวหน้าสำนักงานข้อมูลสมุนไพร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.อาณัฐชัย ม้ายอุเทศ  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ศาศวัต วิศาลศิริกุล และ อาจารย์ ดร.ภก.สุเมธ จงรุจิโรจน์ จากคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.ทิพาจินต์ ไทยพิสุทธิกุล ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พรชัย บำรุงศรี รองศาสตราจารย์ ดร.ดวงดาว วิชาดากุล และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ณฐพล พรพุทธพงศ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งการประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อการพัฒนาโครงการวิจัยต่อไป โดยโครงการนี้ ได้รับทุนวิจัยต่อเนื่อง และเป็นโครงการที่สำคัญในการขับเคลื่อนด้าน Digital Health Tech ของประเทศไทย

นอกจากนี้ การประชุมดังกล่าว ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล