Loading…

เภสัชมหิดลร่วมจัดกิจกรรม “มหิดลร่วมใจ สานสายใย นำน้ำใจสู่ชุมชน” ครั้งที่ 11

315 ครั้ง   17 กุมภาพันธ์ 2567

ระหว่างวันที่ 17 - 18 กุมภาพันธ์ 2567 สโมสรนักศึกษาเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ร่วมกับ สโมสรนักศึกษาคณะกายภาพบำบัด (PT) สโมสรนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล (SIMD) สโมสรนักศึกษาคณะทันตแพทยศาสตร์ (DT) สโมสรนักศึกษาคณะพยาบาลศาสตร์ศิริราช (NS) สโมสรนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (SIET) สโมสรนักศึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล หลักสูตรการแพทย์แผนไทยประยุกต์ (SITT)  และ สโมสรนักศึกษาคณะเทคนิคการแพทย์ (MT) จัดกิจกรรมค่าย “มหิดลร่วมใจ สานสายใย นำน้ำใจสู่ชุมชน” ครั้งที่ 11 ณ ชุมชนบางขุนไทร อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมี รองศาสตราจารย์ ภก.ปรีชา มนทกานติกุล รองคณบดีฝ่ายการศึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ธนิกา ปฐมวิชัยวัฒน์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก. วสุ ศุภรัตนสิทธิ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.เจนนิษฐ์ มีนวัฒนา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.กฤษฎา ศักดิ์ชัยศรี และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ศาศวัต วิศาลศิริกุล เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้ กิจกรรมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างโอกาสในการเรียนรู้การบริบาลทางเภสัชกรรมเบื้องต้น ฝึกการให้คำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง อีกทั้งยังสร้างประโยชน์สูงสุดในด้านการศึกษาและการให้บริการวิชาการ โดยมีหลักการบริการสุขภาพที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงในมิติด้านเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรมภายใต้ยุทธศาสตร์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Transformative Learning) โดยมุ่งเน้นระบบการเรียนการสอนแบบเรียนรู้ร่วมกันระหว่างสหวิชาชีพ เช่น การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมประชาชนที่มีปัญหาสุขภาพในชุมชนร่วมกับทีมสหวิชาชีพ เพื่อเพิ่มทักษะความรู้ ความเข้าใจ แนวคิด ทัศนคติ และจิตวิญญาณในวิชาชีพให้ดียิ่งขึ้น

นอกจากนี้ กิจกรรมดังกล่าว ตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย และเป้าหมายที่ 4 สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล