Loading…

เภสัชมหิดลจัดโครงการฝึกอบรมนักศึกษาแลกเปลี่ยนจาก Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น

162 ครั้ง   16 กุมภาพันธ์ 2567

เมื่อวันศุกร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 - 11.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยวิเทศสัมพันธ์ จัดโครงการฝึกอบรมนักศึกษาแลกเปลี่ยนต่างชาติจาก Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.อุษา ฉายเกล็ดแก้ว รองคณบดีฝ่ายวิเทศสัมพันธ์และประชาสัมพันธ์ พร้อมด้วย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ณัฐวุฒิ เจริญไทย ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายวิชาชีพ ให้การต้อนรับ Assoc. Prof. Dr. Seiichi Sakamoto และนักศึกษาแลกเปลี่ยนชาวญี่ปุ่น ระดับปริญญาตรี จาก School of Pharmaceutical Sciences, Kyushu University ประเทศญี่ปุ่น ณ ห้องประชุม 409 อาคารราชรัตน์ โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์ สังกัดภาควิชาเภสัชกรรม และ รองศาสตราจารย์ ดร.ทนพญ.วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ สังกัดภาควิชาชีวเคมี ให้เกียรติเข้าร่วมในการต้อนรับและปฐมนิเทศนักศึกษาแลกเปลี่ยน จำนวน 2 คน ประกอบด้วย  Mr. Tomoki Ota และ Ms. Riko Kawabe ซึ่งได้เดินทางมาประเทศไทยเพื่อเข้าร่วมโครงการแลกเปลี่ยนและฝึกอบรมทางวิชาชีพเฉพาะทาง ณ ภาควิชาเภสัชกรรม และ ภาควิชาชีวเคมี  คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ระหว่างวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 ถึงวันที่ 22 มีนาคม 2567

โดย Mr. Tomoki Ota จะเข้ารับการฝึกอบรม ณ ภาควิชาเภสัชกรรม ภายใต้การควบคุมดูแลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ผกาทิพย์ รื่นระเริงศักดิ์ ในขณะที่  Ms. Riko Kawabe จะเข้ารับการฝึกอบรม ณ ภาควิชาชีวเคมี ภายใต้การควบคุมดูแลของ รองศาสตราจารย์ ดร.ทนพญ.วันวิสาข์ อุดมสินประเสริฐ 

โครงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการฝึกอบรบในสาขาเภสัชศาสตร์เฉพาะทางสำหรับนักศึกษาจากต่างประเทศ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ร่วมกันในระดับนานาชาติ และผลักดันให้มีความเป็นเลิศทางวิชาการอย่างเป็นที่ประจักษ์ในระดับสากลต่อไป นอกจากนี้ โครงการดังกล่าวยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ในเป้าหมายที่ 4 คือ สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต และเป้าหมายที่ 17 คือ เสริมความแข็งแกร่งให้แก่กลไกการดำเนินงานและฟื้นฟูหุ้นส่วนความร่วมมือระดับโลกเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกด้วย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล