Loading…

เภสัชมหิดลให้การต้อนรับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยมหิดล ในโอกาสเข้าหารือแนวทางการทำงานร่วมกันและศึกษางานบริการวิชาการของคณะฯ

215 ครั้ง   25 มกราคม 2567

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม 2567 เวลา 09.00-12.00 น. ผู้บริหารคณะฯ นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วยบุคลากรงานบริหารงานวิจัยและนวัตกรรม ให้การต้อนรับสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ยศชนัน วงศ์สวัสดิ์ ผู้อำนวยการสถาบันบริหารจัดการเทคโนโลยีและนวัตกรรม ผู้บริหารและหัวหน้างานบริการวิจัยและวิชาการ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ของศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม (Mahidol Industry Connection Center: MICC) ในโอกาสเข้าเยี่ยมชมคณะฯ และหารือความร่วมมือทางด้านการวิจัย ณ ห้องประชุม V401 ชั้น 4 อาคารวิจัย ประดิษฐ์ หุตางกูร

การเยี่ยมชมคณะฯ ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางการทำงานร่วมกัน และศึกษางานบริการวิชาการ รวมถึงขอบข่ายการดำเนินงานในงานวิจัยของคณะฯ เพื่อนำไปประชาสัมพันธ์และเป็นข้อมูลในด้านบริการวิจัยและวิชาการในภาพรวมของมหาวิทยาลัยมหิดลต่อไป ในโอกาสนี้ เจ้าหน้าที่ของศูนย์ร่วมคิดพาณิชย์นวัตกรรม ได้เข้าเยี่ยมชมศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนัง และศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ด้านเคมี ด้านสมุนไพร และด้านจุลชีววิทยา โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปิยนุช โรจน์สง่า หัวหน้าฝ่ายเคมี CAP Q รองศาสตราจารย์ ดร.ภก.กฤษณ์ ถิรพันธุ์เมธี หัวหน้าฝ่ายจุลชีววิทยา CAP Q ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.วีรวัฒน์ ตีรณะชัยดีกุล ผอ.ศูนย์ทดสอบเครื่องสำอางและเภสัชภัณฑ์ทางผิวหนัง และ อาจารย์ ดร.ภญ.ชุติมา เพ็ชรประยูร หัวหน้าหน่วยเครื่องมือวิจัยกลาง ให้การต้อนรับด้วย

นอกจากนี้ การหารือความร่วมมือดังกล่าว ยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 8 ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน 

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล