Loading…

เภสัชมหิดลลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย (MOU) กับ บริษัท โนว่า เฮลธ์ จำกัด

250 ครั้ง   18 ธันวาคม 2566

เมื่อวันจันทร์ที่ 18 ธันวาคม 2566 เวลา 10.00-12.00 น. รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ พร้อมด้วย ภก.ประพล ฐานะโชติพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โนว่า เฮลธ์ จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัย ระหว่าง คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล กับ บริษัท โนว่า เฮลธ์ จำกัด โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ดวงดาว ฉันทศาสตร์ รองคณบดีฝ่ายวิจัยและนวัตกรรม และ นายธนัท พลอยดนัย ผู้อำนวยการฝ่ายการตลาดและผลิตภัณฑ์ บริษัท ที.แมน ฟาร์มาซูติคอล จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โนว่า เฮลธ์ จำกัด ลงนามเป็นพยานในบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ณ ห้องประชุม 606 ชั้น 6 อาคารราชรัตน์ ซึ่งมีคณาจารย์ในคณะฯ เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงดังกล่าว

การบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความร่วมมือทางด้านวิชาการ วิชาชีพ การวิจัยและพัฒนา ในการสนับสนุน ส่งเสริมเกื้อกูล และแลกเปลี่ยน ทั้งด้านทรัพยากร วิทยาการ ข้อคิดเห็น และประสบการณ์ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อทั้งสองฝ่าย ในโอกาสนี้ รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ปิยนุช โรจน์สง่า หัวหน้าศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายเคมี) ได้นำเสนอ “โครงการการวิเคราะห์ปริมาณกรดโรสมารินิคในครีมสารสกัดรางจืด สำหรับอาการแพ้พิษแมลงกัดต่อย” อีกด้วย

นอกจากนี้ ความร่วมมือดังกล่าวยังนับเป็นการตอบสนองต่อพันธกิจของคณะฯ ในการผลิตและเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมที่มีมาตรฐานในระดับประเทศและนานาชาติ และการเป็นศูนย์กลางให้บริการวิชาการด้านยา สมุนไพร เครื่องสำอาง และอาหาร เพื่อการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืน รวมทั้งยังช่วยสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Goals) ในเป้าหมายที่ 3 คือ สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมสวัสดิภาพสำหรับทุกคนในทุกวัย และเป้าหมายที่ 8 คือ ส่งเสริมการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่อง ครอบคลุม และยั่งยืน การจ้างงานเต็มที่ มีผลิตภาพ และการมีงานที่เหมาะสมสำหรับทุกคน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล