Loading…

เภสัชมหิดลนำทีมเภสัชกรไทยคว้ารางวัลระดับโลกในงาน 2023 International Society of Cardiovascular Pharmacotherapy (ISCP)

238 ครั้ง   23 พฤศจิกายน 2566

เมื่อวันที่ 23-25 พฤศจิกายน 2566 รองศาสตราจารย์ ภก.สุรกิจ นาฑีสุวรรณ คณบดีคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่รับหน้าที่เป็น Governor of Thailand ขององค์กร International Society of Cardiovascular Pharmacotherapy หน่วยงานภายใต้ World Health Federation ได้นำทีมแพทย์และเภสัชกรไทยจากหลากหลายมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลที่มีความสนใจและเชี่ยวชาญเรื่องการใช้ยาในผู้ป่วยโรคหัวใจเข้าร่วมประชุมและนำเสนอผลงานวิชาการในงาน 2023 Annual Scientific Meeting of the International Society of Cardiovascular Pharmacotherapy ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 25 พฤศจิกายน 2566 ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ โดยงานนี้มีผลงานวิชาการจากไทยเข้าร่วมนำเสนอกว่า 10 เรื่อง และเป็นที่น่ายินดีที่ประเทศไทยสามารถคว้า 2 รางวัลจากการประกวด Best Poster Presentation Award โดย เภสัชกรหญิงอุบลวรรณ สระพูและคณะ ศิษย์เก่าหลักสูตรเภสัชศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเภสัชกรรมคลินิกของคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล คว้ารางวัล 2nd Prize Best Poster Presentation Award จากผลงานการพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยที่ได้รับยาต้านการแข็งตัวของเลือดในช่วงที่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด 19 และ เภสัชกรหญิงจันทร์พร ก้องวัชรพงศ์ ฝ่ายเภสัชกรรม โรงพยาบาลศิริราช ศิษย์เก่าหลักสูตรวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเภสัชกรรม สาขาเภสัชบำบัด คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล ร่วมกับ นศภ.อภิสรา โลหะชาตินันท์ นศภ.ณัฐนันท์ กิตติกุลกันยากิจ นักศึกษาปริญญาตรีชั้นปีที่ 6 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภญ.ศยามล สุขขา และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ภก.ศุภทัต ชุมนุมวัฒน์ อาจารย์สาขาเภสัชกรรมคลินิก ภาควิชาเภสัชกรรม คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล คว้ารางวัล 3rd Prize Best Poster Presentation Award จากผลงานวิจัย เรื่อง “การประเมินประสิทธิภาพและความปลอดภัยของยากลุ่ม direct oral anticoagulant ในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตบกพร่อง” โดยงานประชุมดังกล่าวมีผู้เข้าร่วมประชุมกว่า 400 คนจาก 25 ประเทศ ในโอกาสนี้ คณะฯ ขอร่วมแสดงความยินดีกับความสำเร็จระดับโลกของศิษย์เก่าและทีมอาจารย์และนักศึกษาทุกคน

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล