Loading…

หน่วยทรัพยากรบุคคลจัดโครงการ “ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ประจำปี 2566”

344 ครั้ง   1 พฤศจิกายน 2566

เมื่อวันพุธที่ 1 พฤศจิกายน 2566 เวลา 08.30 - 12.00 น. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล โดยหน่วยทรัพยากรบุคคล จัดโครงการ “ปฐมนิเทศบุคลากรใหม่ ประจำปี 2566” ให้แก่บุคลากรที่เริ่มบรรจุในเดือนพฤศจิกายน 2566 โดยได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน รองคณบดีฝ่ายบริหาร พร้อมด้วยบุคลากรหน่วยทรัพยากรบุคคล กล่าวต้อนรับบุคลากรใหม่ ณ ห้องประชุม V501 ชั้น 5 อาคารวิจัยประดิษฐ์ หุตางกูร

ในโอกาสนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภก.ภานุพงษ์ พงษ์ชีวิน รองคณบดีฝ่ายบริหาร ได้แนะนำคณะผู้บริหาร โครงสร้างคณะเภสัชศาสตร์ ค่านิยมองค์กร MAHIDOL-PY หลังจากนั้น บุคลากรหน่วยทรัพยากรบุคคล ได้ชี้แจงเกี่ยวกับกฎระเบียบ ข้อปฏิบัติ ความก้าวหน้าในวิชาชีพ (Career Path) ตลอดจนสิทธิประโยชน์และสวัสดิการต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรใหม่ของคณะฯ ได้รับทราบเกี่ยวกับประวัติความเป็นมา วิสัยทัศน์ พันธกิจ และแนวทางการปฏิบัติตนในการทำงาน เพื่อเตรียมความพร้อมในการปฏิบัติงานต่อไป

บุคลากรใหม่ประจำเดือนพฤศจิกายน 2566 มีดังนี้

1) นายชนชนก ดีพาชู ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดหน่วยสารบรรณ
2) นางสาวสุนิสา เรืองหอม ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป สังกัดสถานปฏิบัติการเภสัชกรรมชุมชน
3) นางสาวชนิดา ปลื้มใจ ตำแหน่งนักวิชาการเงินและบัญชี สังกัดหน่วยการเงิน
4) นางสาวสุดารัตน์ อรุณมงคล ตำแหน่งนักวิทยาศาสตร์ สังกัดศูนย์วิเคราะห์คุณภาพผลิตภัณฑ์ (ฝ่ายเคมี)
5) นางสาวจรินทร์พร ปุริทำเม ตำแหน่งนักวิชาการศึกษา สังกัดหน่วยพัฒนาและสวัสดิการนักศึกษา

บุคลากรที่เปลี่ยนประเภทการจ้างจากลูกจ้างชั่วคราวเป็นพนักงานคณะเภสัชศาสตร์ มีดังนี้

1) นายพีรพล ทัศนเจริญ ตำแหน่งนักวิชาการโสตทัศนศึกษา สังกัดหน่วยปฏิบัติการคอมพิวเตอร์และโสตทัศนูปกรณ์

บุคลากรที่เปลี่ยนสถานภาพจากข้าราชการเป็นพนักงานมหาวิทยาลัย มีดังนี้

1) รองศาสตราจารย์ ดร.ภญ.ชุติมา เพชรกระจ่าง สังกัดภาควิชาเภสัชเคมี
2) นายอิทธิพล อิทธิอำนวยพันธุ์ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป (ชำนาญการ) สังกัดภาควิชาเภสัชวินิจฉัย

เหตุการณ์ล่าสุด

เกี่ยวกับคณะเภสัชศาสตร์
เหตุการณ์สำคัญ กิจกรรมที่ผ่านมา

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด

ความสำเร็จของวิชาชีพเภสัชกรรม เกิดจากความรู้ที่สามารถทำให้ผู้บริโภคยา มีการเสี่่ยงต่ออันตรายจากยาที่ใช้ให้น้อยที่สุด แต่ได้รับผลในการป้องกัน หรือบำบัดโรคมากที่สุด
ประดิษฐ์ หุตางกูร
คณบดีท่านแรกของคณะเภสัชศาสตร์
Copyright © 2021 - 2024
งานเทคโนโลยีสารสนเทศฯ คณะเภสัชศาสตร์ ม.มหิดล